พรรคการเมืองกับระบอบประชาธิปไตย

Main Article Content

มะลิ ทิพพ์ประจง
พระสมุห์อาคม อาคมธีโร
กัญจิรา วิจิตรวัชรารักษ์

บทคัดย่อ

พรรคการเมืองมีความสำคัญในการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยพรรคการเมืองมีลักษณะเป็นสถาบันทางการเมืองเกิดจากการรวมกลุ่มหรือคณะบุคคลหรือสมาคมที่มี ความคิดเห็นสอดคล้องกันและมีผลประโยชน์พื้นฐานร่วมกันปรารถนารวมตัวกันเพื่อแสวงหาอำนาจในการปกครองประเทศ มีโครงสร้างเป็นองค์กรที่มีการจัดระบบที่ดีในการควบคุมโดยมีคณะผู้บริหารพรรคและมีสมาชิกพรรคดำเนินการตามกลไกที่รัฐธรรมนูญยอมรับให้เข้ามาทำการควบคุมดูแลกิจการของประชาชนซึ่งรัฐบาลดำเนินการอยู่เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันของประชาชน การกล่อมเกลาทางการเมืองเป็นวิธีการสำคัญที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอด การพัฒนา หรือการรักษาวัฒนธรรมทางการเมืองของสังคมการเมืองเอาไว้ นอกจากนั้นในสังคมการเมืองใด ๆ ก็ตามที่จะถือได้ว่ามีการพัฒนาทางการเมืองอันเป็นคุณลักษณะที่ พึงประสงค์ ก็จะต้องเป็นสังคมที่มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเท่านั้น ดังนั้น การกล่อมเกลาทางการเมืองนี้เองที่จะทำหน้าที่ในโครงสร้างของระบบการเมืองเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของสมาชิกในประชาคมการเมืองให้มีวัฒนธรรมและวิถีแห่งการดำเนินชีวิตในระบอบประชาธิปไตยตามเนื้อหาสาระที่ตัวแทนของการกล่อมเกลาทางการเมืองแต่ละกลุ่มได้นำเสนอ การพิจารณาถึงนโยบายของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลว่าจะทำอะไรซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่ใน การเสนอผู้สมัครและเสนอนโยบายคือพรรคการเมือง ดังนั้น พรรคการเมืองจึงมีบทบาทหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างรัฐกับประชาชนและเป็นผู้ร่วมสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชนเพื่อถ่ายทอดและเปลี่ยนแปลงไปสู่การสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของรัฐ โดยการลงเลือกตั้งเพราะฉะนั้นพรรคการเมืองเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

Article Details

How to Cite
ทิพพ์ประจง ม. ., อาคมธีโร พ. ., & วิจิตรวัชรารักษ์ ก. . (2021). พรรคการเมืองกับระบอบประชาธิปไตย. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 3(1), 1–13. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPR/article/view/253217
บท
บทความวิชาการ

References

กิตติพงษ์ กิตยารักษ์. (2543). กระบวนการยุติธรรมบนเส้นทางของการเปลี่ยนแปลง. บทบาทอัยการในการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2538). อนาคตการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ประดิษฐ์ ยมานันท์. (2559). การปฏิรูปพรรคการเมือง. ปทุมธานี: โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน.

ปฤษฎา หงส์ไกรเลิศ. (2544). การปฏิรูปพรรคการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2549). แผนแม่บทพัฒนาการเมือง. กรุงเทพมหานคร: คณะอนุกรรมการยกร่าง.

วิทยา นภาศิริกุล และสุรพล ราชภัณฑารักษ์. (2539). พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิสุทธิ โพธิแท่น. (2544). การดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2550). ทัศนคติทางการเมืองของเด็กและเยาวชนในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: โครงการเอกสารและตำรา คณะรัฐประศาสนศาสตร์.