ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ในจังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

อนุชา พละกุล
ดาวนภา เกตุทอง

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงผลกระทบของภัยคุกคามรูปแบบใหม่ในจังหวัดเพชรบุรี แนวทางการป้องกัน และการแก้ไขปัญหา ใช้วิธีวิจัยเชิงผสมผสาน จากการศึกษาเอกสาร วิทยานิพนธ์ รายงานวิจัย ตำรา เอกสารวิชาการ วารสาร และแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 26 รูป/คน การอภิปรายกลุ่ม จำนวน 10 คน และแบบสอบถาม จำนวน 206 ชุด ผลการวิจัยพบว่า 1) ภัยคุกคามด้านการเมืองการปกครอง คือ ความขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์ ระหว่างกลุ่มอนุรักษ์กับกลุ่มพัฒนา แต่สามารถเจรจาไกล่เกลี่ยระดับท้องถิ่น โดยเปิดโอกาสให้ชาวบ้านแต่ละท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม           2) ภัยคุกคามด้านเศรษฐกิจ อาทิ ความยากจน กล่าวคือเกษตรกรถูกเอาเปรียบด้วยวิธีการ    ต่าง ๆ จากพ่อค้าคนกลางและนายทุน ควรแก้ไขโดยโครงการรัฐ อาทิ โครงการแก้ปัญหา       หนี้นอกระบบ โครงการแก้ปัญหาที่ทำกิน โครงการไทยนิยมยั่งยืน โครงสร้างพื้นฐาน ระบบ    การจัดการน้ำและการคมนาคม โดยการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น      3) ภัยคุกคามด้านสังคมและวัฒนธรรม อาทิ ยาเสพติด (ผู้ค้า/จำหน่าย) เทคโนโลยีสารสนเทศ (มือถือ/อุปกรณ์สื่อสารสมัยใหม่) 4) ภัยคุกคามด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาทิ การเผาป่า ปัญหาขยะล้นเมือง และการบุกรุกที่สาธารณะ เพราะเป็นตัวสร้างมลพิษและทำลายสภาพแวดล้อมที่รุนแรง การแก้ปัญหาคือการสร้างชุมชนเข้มแข็ง การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล และการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ และ 5) ภัยคุกคามด้านโรคระบาด ได้แก่ ปัญหาการอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งเข้าสู่ระลอกที่ 3 ของประเทศไทย ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีผู้ติดเชื่อเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ โดยที่วัคซีนยังไม่อาจสร้างความเชื่อมั่นได้อย่างแท้จริง

Article Details

How to Cite
พละกุล อ. ., & เกตุทอง ด. . (2021). ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ในจังหวัดเพชรบุรี. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 4(1), 45–58. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPR/article/view/252997
บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา บุญชัย. (25636). การประเมินความเสียหาย ผลกระทบและการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นต่อภาวะโรคระบาด COVID 19. กรุงเทพมหานคร: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

กิตติ ประเสริฐสุข และคณะ. (2562). ไทยกับความมั่นคงรูปแบบใหม่ : การค้ามนุษย์ การย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ อาชญากรรมข้ามชาติ และความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์. ใน (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการเมือง). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

คณะรัฐมนตรี. (2546). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2560- 2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2561). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ผู้ให้ข้อมูล 1. (22 พฤษภาคม 2563). ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ในจังหวัดเพชรบุรี. (อนุชา พละกุล, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้ข้อมูล 2. (25 พฤษภาคม 2563). ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ในจังหวัดเพชรบุรี. (อนุชา พละกุล, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้ข้อมูล 3. (18 มิถุนายน 2563). ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ในจังหวัดเพชรบุรี. (อนุชา พละกุล, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้ข้อมูล 4. (25 มิถุนายน 2563). ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ในจังหวัดเพชรบุรี. (อนุชา พละกุล, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้ข้อมูล 5. (29 มิถุนายน 2563). ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ในจังหวัดเพชรบุรี. (อนุชา พละกุล, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้ข้อมูล 6. (29 มิถุนายน 2563). ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ในจังหวัดเพชรบุรี. (อนุชา พละกุล, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้ข้อมูล 7. (10 กรกฎาคม 2563). ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ในจังหวัดเพชรบุรี. (อนุชา พละกุล, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้ข้อมูล 8. (15 กรกฎาคม 2563). ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ในจังหวัดเพชรบุรี. (อนุชา พละกุล, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้ข้อมูล 9. (20 กรกฎาคม 2563). ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ในจังหวัดเพชรบุรี. (อนุชา พละกุล, ผู้สัมภาษณ์)

ภาราดา ชัยนิคม. (2558). ความรู้และการเตรียมความพร้อมต่อภัยคุกคามรูปแบบใหม่: กรณีศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์. ใน (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

พระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2559. (2559). ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 133 ตอนที่ 85 ก. (26 กันยายน 2559).

สุดาวรรณ ประชุมแดง และคณะ. (2558). การขัดกันของผลประโยชน์ของกลุ่มธุรกิจการเมืองไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5(6), 102-117