แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักกัลยาณมิตร 7 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1

Main Article Content

สุรชัย คำดีราช
พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์ ภูริปญฺโญ
สมศักดิ์ บุญปู่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักกัลยาณมิตร 7 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักกัลยาณมิตร 7 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 322 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 5 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และรายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมในการประเมินผล และการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ตามลำดับ 2) วิธีการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักกัลยาณมิตร 7 ประกอบด้วย (1) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจประกอบด้วยความเมตตา (ปิโย น่ารัก) ถือหลักการเป็นสำคัญ (ครุ น่าเคารพ) มีความรอบรู้ และเจริญด้วยคุณธรรม (ภาวนีโย น่าเจริญใจ) (2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นและสามารถชี้แจงให้คนอื่นเข้าใจได้โดยง่าย (วตฺตา รู้จักพูดให้ได้ผล) ไม่ตัดสินใจด้วยตนเองและยังสามารถควบคุมอารมณ์ได้ (วจนกฺขโม ทนต่อถ้อยคำ) (3) มีไหวพริบชี้แจงได้ด้วยเหตุผลและติดตามประเมินผลงาน (คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา ชี้แจงล้ำลึก) (4) ตระหนักถึงประโยชน์ส่วนรวมและเป็นการป้องกันที่จะนำสู่ทางเสื่อมเสียต่อการบริหาร (โน จฏฺฐาเน นิโยชเย ไม่ชักนำไปในทางที่เสื่อมเสีย) และ 3) แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักกัลยาณมิตร 7 ประกอบด้วย (1) บริหารให้ความเสมอภาคต่อทุกคนและมีความเมตตา เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารร่วม ยึดถือหลักการตามระเบียบและแนวทางปฏิบัติ และเจริญด้วยคุณธรรม (2) ชี้แจงนโยบายสอดคล้องกับข้อบังคับ กฎระเบียบทางราชการ พิจารณาก่อนตัดสินใจ ให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกขั้นตอน (3) มีไหวพริบชี้แจงและติดตามโดยให้ทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินผลงาน (4) ยึดประโยชน์ส่วนรวมที่จะเกิดขึ้นและไม่นำสู่ทางแห่งความเสื่อม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ บุราณสาร. (2560). แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มนัสนันท์ บุญปู่, พระครูสาทรปริยัติคุณ (สนิท ฉนฺทปาโล) และพระมหาญาณวัฒน์ ิตวฑฺฒโน. (2565). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะกัลยาณมิตรของอาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 9(1). 327-338.

ราตรี รัตนโสภา, สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย และพระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน. (2563). ศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารเครือข่ายแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์. 1(1). 28-36.

ทับทิม แสงอินทร์. (2559). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสรวงสุทธาวิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 15. นนทบุรี: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์.(2544). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.

พระสมุห์ขวัญชัย ปญฺญาวโร (สาลารักษ์). (2562). การบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น พื้นฐานในการบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เมตต์ เมตการุณ์จิต. (2554). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์.

วิรัตน์ มะโนวัฒนา.(2548). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชบุรี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. (2566). ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน พ.ศ. 2565. แหล่งที่มา https://www.sk1edu.go.th/sk1school/ สืบค้นเมื่อ 21 เม.ย. 2566.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2547). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) 2545. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.

โสฬส เพ็งเหมือน. (2564). แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale in Reading in Attitude Theory and Measurement. Fishbeic, Matin, Ed, New York: Wiley & Son.