พุทธวิธีการบริหารวิชาการในสถานศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ ผู้เขียนนำเสนอพุทธวิธีการบริหารวิชาการในสถานศึกษาซึ่งเป็นแนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา เป็นแนวคิดการนำหลักพุทธธรรม คือ อิทธิบาท 4 (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) เพื่อบูรณาการกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา รวมถึงการครองงาน ครองตนตามแนวพุทธธรรม ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปัจจุบันต้องมีรูปแบบกลยุทธ์ในการบริหารจัดการการศึกษาควบคู่กับคุณธรรม จริยธรรม เป็นพื้นฐาน เพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางวิธีการคิดและการบริหารจัดการแบบใหม่ให้สอดคล้องและทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยผู้นำระดับสูงขององค์กรหรือผู้บริหารสถานศึกษา เป็นบุคคลที่ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในทุกขั้นตอน โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง พัฒนาผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพทั้งด้านความรู้ความสามารถ คุณธรรมจริยธรรม และการคิดเป็นทำเป็น เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กมล ภู่ประเสริฐ. (2547). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: เสริมสินพรีเพรสซิสเท็ม.
กิติมา ปรีดีดิลก. (2532). การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: อักษรบัณฑิต.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2543). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: สหมิตรออฟเซท.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2545). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 46. กรุงเทพมหานคร: กรมศาสนา.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รุจิร์ ภู่สาระ และจันทรานี สงวนนาม. (2545). การบริหารหลักสูตรในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์.
วรภัทร ภู่เจริญ. (2548). องค์กรแห่งการเรียนรู้และการบริหารความรู้. กรุงเทพมหานคร: อริยชน.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2545). การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
วินิจ เกตุขำ. (2542). มนุษยสัมพันธ์สำหรับผู้บริหารยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
สุมนา พุ่มประพาฬ. (2537). การบริหารงานวิชาการในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ลักษณ์.
อำภา บุญช่วย. (2537). การบริหารงานวิชาการภายในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2540). การบริหารประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.