ความกลมกลืนของชีวิตและงานตามหลักอิทธิบาท 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการปฏิบัติงานตามแนวคิดความกลมกลืนของชีวิตและงานกับหลักอิทธิบาท 4 ที่เป็นการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งพบว่า ลักษณะของงานที่ยืดหยุ่นและมีอิสระมากกว่ารูปแบบเดิมนั้น อาจจะทำให้เกิดผลกระทบต่อองค์กรและผู้ปฏิบัติในระยะยาว ดังนั้น การนำหลักอิทธิบาท 4 ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ช่วยกำกับการปฏิบัติงานจะสร้างประโยชน์ให้งานมีความสำเร็จไปได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย 4 ประการหลัก ประกอบด้วย 1) ฉันทะ ความพอใจ การสร้างแรงจูงใจให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน เช่น การให้รางวัล การสร้างชุมชนออนไลน์ 2) วิริยะ ความพากเพียร การวางแผนการทำงาน การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน การติดตามผลการทำงาน 3) จิตตะ การคิดเพื่อหาวิธีการ การใช้เครื่องมือในการจัดการเวลา การฝึกสมาธิเพื่อเพิ่มสมาธิในการทำงาน 4) วิมังสา การไตร่ตรอง การประเมินผลการทำงานอย่างสม่ำเสมอ การปรับปรุงวิธีการทำงาน หากปฏิบัติได้ตามนี้แม้จะมีรูปแบบการใช้ชีวิตหรือการปฏิบัติงานที่เปลี่ยนไป แต่การปฏิบัติงานตาม 4 ประการหลักนี้ก็จะยังคงดำเนินไปต่อไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
ขรินทร์ทิพย์ ฑีรากาญจน์. (2561). การศึกษาความสัมพันธ์ของความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การและความผูกพันต่อองค์การที่มีต่อความตั้งใจคงอยู่ในงานโดยมีความผสมผสานระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัวเป็นตัวแปรกำกับของพนักงานในกลุ่มธุรกิจการค้าและเทคโนโลยี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นพพร โสวรรณะ. (2564). Work-Life Integration ชีวิตมีสีสันผสานกับงานอย่างลงตัว. แหล่งที่มา https://www.khonatwork.com/post/work-life-integration. สืบค้นเมื่อ 24 ต.ค. 2566.
พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2548). อธิบายหลักธรรมตามหมวดจากนวโกวาท. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมสภา.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2545). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: กรมศาสนา.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพมหานคร: เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.
พระมหาอำนาจ ปวฑฺฒโน. (2556). การบริหารการศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พัฒน์พรชัย เมฆวิลัย. (2565). การบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ในวิกฤติการณ์โควิด 19. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์. 3(1). 41-49.
พุทธทาสภิกขุ. (2537). ฆราวาสธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศิริวรรณ ทองเหลือง. (2559). ไมโครซอฟท์เผยแนวคิดโลกยุคใหม่ของการทำงาน. แหล่งที่มา https.//www.techtalkthai.com/Microsoft-great-place-to-work/ สืบค้นเมื่อ 23 ต.ค. 2566.
brandinside.asia. (2561). 4 เทคนิคเปลี่ยนองค์กรเป็น Work-life Integration มัดใจคนรุ่นใหม่. แหล่งที่มา https://brandinside.asia/4-things-work-life-integration/ สืบค้นเมื่อ 23 ต.ค. 2566.
Grady, G., & McCarthy, A.M. (2008). Work-life integration: experiences of mid-career professional working mothers. Journal of Managerial Psychology. 23(5). 599-622.
Morris, M.L. (2007). Advancing Work-Life Integration in Individuals Organizations and Communities. Advances in Developing Human Resources. 9(4). 439-454.
Musketeers. (2559). ไมโครซอฟท์เผยแนวคิดโลกยุคใหม่ของการทำงานทิศทางใหม่ Work-life integration. แหล่งที่มา http:/marketeer.co.th/archive/73591. สืบค้นเมื่อ 23 ต.ค. 2566.
talance.tech. (2561). Work-life Integration นิยามใหม่ของชีวิตยุคโควิด – 19. แหล่งที่มา https://www.talance.tech/blog/work-life-integration. สืบค้นเมื่อ 23 ต.ค. 2566.