ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

Main Article Content

พักตร์วิไล ชำปฏิ
พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน
พีรวัฒน์ ชัยสุข

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยการใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครู จำนวน 368 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาพรวมมีดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI Modified) อยู่ระหว่าง 0.055-0.076 องค์ประกอบที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ความมีวิสัยทัศน์นวัตกรรม รองลงมา คือ ความมีความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรม ความมีความกล้าเสี่ยงต่อนวัตกรรม และความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยยนต์ เพาพาน. (2560). ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในสตวรรษที่ 21. แหล่งที่มา htts://www.v.conference.edu.ksu.ac.th/ite//20160809_2088101 126.pdf สืบค้นเมื่อ 16 ต.ค. 2564.

ฐิตินันท์ นันทะศรี. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

พยัค วุฒิรงค์. (2547). การจัดการนวัดกรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2553). วิธีการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิสิฐธวัฒน์ กลิ่นไธสงค์. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สาลินี มีเจริญ. (2555). การพัฒนากลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสตรี ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. (2564) รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปี 2564. ตราด: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2555). แนวคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับการบริหารสถานศึกษาในสตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 14(2). 117-128.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2543). สู่มิติการเป็นนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. วารสารวิชาการ. 3(6). 70-77

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวานิช. (2542). การสังเคราะห์เทคนิคที่ใช้ในการประเมินความต้องการจำเป็นในนิสิตคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รายงานวิจัย. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัขราธร สังมณีโชติ. (2550). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่พึ่งประสงค์ของชุมชน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Cronbach L. J. (1974). Essentials of Psychological Testing. 3 rd ed. New York: Harper and Row.

Dyer, J., Gregersen, H. & Christensen, C.M. (2011). The Innovator's DNA: Mastering the fine skills of disruptive innovators. Boston: Harvard Business Press.

Horth, D. & Buchner, D. (2022). Innovative leadership. From www.ecl.org/leadership/pdf/research/InnovationLeadership.pdf Retrieved December 25, 2022.

Krejcie, R.V. & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.