ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

Main Article Content

กุสุมา ยี่ภู่
อินถา ศิริวรรณ
พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยที่เป็นครูในสถานศึกษา จำนวน 357คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาพรวมมีดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) อยู่ระหว่าง 0.055-0.069องค์ประกอบที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ความมีจินตนาการ รองลงมา คือ ความยืดหยุ่น ความสามารถในการแก้ปัญหา และความมีวิสัยทัศน์ ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). ศธ. 362 องศา. นโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565. แหล่งที่มา https://moe360.blog/2022/01/19/policy-and-focus-moe/ สืบค้นเมื่อ 12 พ.ค. 2565.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2553). วิธีการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิมพ์พร พิมพ์เกาะ. (2557). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วัฒนา ปะกิคา. (2560). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียน. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศศิรดา แพงไทย, (2559). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัย บัณฑิตเอเชีย. 6(1). 72-84.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริการจัดการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวานิช. (2542). การสังเคราะห์เทคนิคที่ใช้ในการประเมินความต้องการจำเป็นในนิสิตคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รายงานวิจัย. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. (2564). รายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ที่อาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. แหล่งที่มา https://www.spmnonthaburi.go.th/main/news/10671.html สืบค้นเมื่อ 4 มิ.ย. 2565.

รัชชัยย์ ศรสุวรรณ. (2565). ผ่าประเด็นร้อน เกณฑ์การย้ายผู้บริหารสถานศึกษา ปัญหาในทางปฏิบัติ. แหล่งที่มา https://www.kroobannok.com/88489 สืบค้นเมื่อ 4 มิ.ย. 2565.

Ash, R. C.; & Persall, J. M. (1999). The Principal as Chief Leaming Officer. National Association of Secondary School Principals. 84(616). 15-22.

Cronbach L. J. (1974). Essentials of Psychological Testing. 3 rd ed. New York: Harper and Row.

Krejcie, R.V. & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.