สภาพการจัดการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีของบุคลากรทางการลูกเสือ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีของบุคลากรทางการลูกเสือ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี เป็นการวิจัยแบบเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครู จำนวน 286 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีหาค่าความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า การจัดการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีของบุคลากรทางการลูกเสือ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี มีสภาพที่ปฏิบัติจริงในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีสภาพที่คาดหวังในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีความต้องการจำเป็นอันดับ 1 ด้านการทำงานเป็นทีม อันดับที่ 2 ด้านความมีภาวะผู้นำ อันดับที่ 3 ด้านการตระหนักรู้แห่งตน อันดับที่ 4 ด้านความมีจิตสาธารณะ อันดับที่ 5 ด้านความมีวินัย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2553). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ. 5 ปี). มหาสารคาม: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
พิทักษ์สิน ภักดี. (2563). การบริหารกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะผู้เรียนในศูนย์เครือข่ายการศึกษาที่ 9 พุทธลีลาบางขัน สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 5(2). 406-407.
ไพทูรย์ โพธิสว่าง. (2559). การทำวิจัยทางสังคมศาสตร์ : หลักการวิธีปฏิบัติ สถิติและคอมพิวเตอร์. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
รังสรรค์ เกิดศรี. (2565). รูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2560). การศึกษาความเป็นพลเมืองของผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. รายงานการวิจัย. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
สุรีย์ บุญรักษา. (2552). ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารกิจกรรมลูกเสือในโรงเรียน สังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
Yamane, Taro. (1973). Statistic: An Introducting Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row.