แนวทางการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1

Main Article Content

กัญสุญา บุญเกิด
เกษม แสงนนท์
สมศักดิ์ บุญปู่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัล 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักอิทธิบาท 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักอิทธิบาท 4 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามประชากรในการวิจัยที่เป็นผู้บริหารและครูโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 290 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัล ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 ในภาพรวมมีสภาพการบริหารอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีสภาพการบริหารอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านหลักสูตร ด้านการเรียนการสอน ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ที่ ด้านการวัดและการประเมินผล และด้านสื่อการเรียนการสอน ตามลำดับ 2) วิธีการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาที่ดีจะต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการปฏิบัติงานด้านวิชาการให้ประสบผลสำเร็จ มุ่งส่งเสริมสถานศึกษาให้จัดกระบวนการเรียนรู้ ปรับปรุงระบบงานวิชาการให้มีประสิทธิภาพใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ให้ความสำคัญด้านการจัดการเรียนการสอนด้วยความเอาใจใส่ มีเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลายน่าสนใจ การจัดระบบการติดตามสนับสนุนและช่วยเหลือการปฏิบัติงานของครูในด้านงานวิชาการและการเรียนการสอนภายในสถานศึกษาโดยให้เกิดผลที่ส่งตรงถึงตัวผู้เรียนให้มากที่สุด และ 3) การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักอิทธิบาท 4 เป็นการบูรณาการการบริหารกับหลักอิทธิบาท 4 โดยผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจมุมานะพยายาม มีความรับผิดชอบ รอบคอบรอบรู้ ในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ มีปัญญา มีศักยภาพ ในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพตามมาตรฐานและเทคนิควิธีการที่ทันสมัย ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในยุคดิจิทัลในงานต่างๆ รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดการพัฒนาที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยผู้เรียนเป็นผู้ลงมือกระทำตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนตรงตามที่กำหนดอย่างมีประสิทธิผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

จิรายุ เกื้อทาน. (2557). การบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ทวี หนูพันธ์. (2565). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนกลุ่มศรีพุทธ จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ธิติญา เพ็ชรแผว และคณะ. (2555). การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นฤดล มะโนศรี. (2564). การบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาสหวิทยาเขตหลักเมืองเลย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิมพ์ใจ พุฒจัตุรัส. (2562). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ยุทธนา บัวบาล และคณะ. (2564). แนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560- 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.