แนวทางการบริหารสถานศึกษาปลอดภัยตามหลักปาปณิกธรรม โรงเรียนวัดบัวขวัญ (มีทับราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาปลอดภัย 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารสถานศึกษาปลอดภัยตามหลักปาปณิกธรรม และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาปลอดภัยตามหลักปาปณิกธรรม เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างผู้บริหาร ครู และนักเรียน จำนวน 209 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 ท่าน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพความบริหารการปลอดภัยโรงเรียนวัดบัวขวัญ ในภาพรวมและทุกด้านอยู่ในระดับมาก เพราะว่าผู้ว่าบริหารและครูในสถานศึกษาให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยในทุกด้านที่ศึกษา เช่น ด้านมาตรการป้องกัน ด้านการปลูกฝั่ง และด้านการปราบปรามโดยมีการเชิญวิทยากรอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรประจำทุกภาคการศึกษาตามลำดับความสำคัญ 2) วิธีการบริหารสถานศึกษาปลอดภัยโรงเรียนวัดบัวขวัญ (มีทับราษฎร์บำรุง) ทั้ง 3 ด้านตามหลักปาปณิกธรรม ประกอบด้วย (1) การป้องกัน ผู้บริหารควรการกำหนดนโยบายและขั้นตอนการป้องกันจัดทำนโยบายและขั้นตอนที่ชัดเจนเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น (2) ปลูกฝัง ต้องตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อปฏิบัติการในกรณีฉุกเฉินที่ชัดเจนและปรับปรุงอยู่เสมอตามความเหมาะสม เพื่อให้ทุกคนในสถานศึกษาทราบว่าควรทำอย่างไรในกรณีฉุกเฉิน (3) ปราบปราม ผู้บริหารต้องกำหนดนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติจัดทำนโยบายที่ชัดเจนและเข้มงวดในการปราบปราม รวมถึงการกำหนดขั้นตอนการรายงานเหตุการณ์ และการดำเนินการในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ โดยรวมถึงการฝึกบุคลากรและนักเรียนในการรายงาน และ 3) แนวทางการบริหารสถานศึกษาปลอดภัยโรงเรียนวัดบัวขวัญ (มีทับราษฎร์บำรุง) ทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย (1) การป้องกัน ในการประเมินใช้ข้อมูลเชิงสถิติเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในสถานศึกษาในช่วงเวลาที่กำหนดเพื่อประมาณความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุอันตราย การประเมินยังอาจพิจารณาปัจจัยต่างๆ (2) ปลูกฝัง การจัดลำดับความรุนแรงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการช่วยให้โรงเรียนสามารถจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็ว ซึ่งมีความสำคัญเป็นพิเศษในสถานการณ์ฉุกเฉินที่ต้องการการแก้ไขทันที คือ การเสริมสร้างทักษะและสมรรถนะในด้านความปลอดภัยสำหรับสถานศึกษาเป็นกระบวนการที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้โรงเรียนมีความพร้อมและสามารถจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ (3) ปราบปราม การฟื้นฟูและช่วยเหลือในด้านความปลอดภัยสำหรับสถานศึกษาเป็นกระบวนการที่สำคัญเพื่อให้สถานศึกษากลับมาทำงานได้โดยปลอดภัยหลังจากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุการฟื้นฟูและช่วยเหลือความปลอดภัยของสถานศึกษา และการดำเนินการขั้นตอนของกฎในสถานศึกษาเพื่อความปลอดภัยมักจะเป็นกระบวนการที่เน้นไปที่การใช้กฎและข้อบังคับเพื่อให้สถานศึกษาปลอดภัยและป้องกันอันตราย การใช้กฎและข้อบังคับในสถานการณ์ต่างๆ มีความสำคัญอย่างมากในการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ปลอดภัยและมั่นใจให้กับนักเรียนและบุคลากร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กุสุมา แสงแก้ว และปราการ เกิดมีสุข. (2562). ภาวะผู้นำวิสัยทัศน์กับการจัดการความปลอดภัยของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 7(1). 24.
จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ. (2554). การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในโรงเรียนในจังหวัดชลบุรี. รายงานวิจัย. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธีรพจน์ แนบเนียน. (2565). แนวทางการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร ของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนฟ้าอุดม สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วารสารวิจัยวิชาการ. 5(2). 91.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมมิก.
พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน และศุขภิญญา ศรีคำไทย. (2565). การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์. 3(1). 70-78.
พระมหาอาคม อตฺถเมธี. (2565). การศึกษาภาวะผู้นำตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมจังหวัดเลย. วารสารวิิจััยศรีีล้านช้้าง. 2(5). 2.
มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลกรณราชวิทยาลัย.
อดิศร ดีปานธรรม. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการด้านความปลอดภัยแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
Krejcie, R.V. & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.