แนวทางการพัฒนาตน : มุมมองตามหลักพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระครูปลัดรัตน์ ฐิตคุโณ
สิน งามประโคน
พระสุรชัย สุรชโย

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาตนตามหลักพระพุทธศาสนาโดยมีเครื่องมือที่สำคัญคือช่วยกันสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าและการแก้ปัญหาของประเทศ เพราะปัญหาชาติเกิดจากตนด้วยเหตุนี้การจะแก้ปัญหาใดๆ ต้องเริ่มจากตนเป็นประการสำคัญ กรณีตัวอย่างพระพุทธองค์ทรงเป็นต้นแบบการพัฒนาตนเองจนเป็นครูต้นแบบของมนุษย์และเทวดาในการพิสูจน์ความจริงในการศึกษาค้นหาความจริง การพัฒนาตนจะต้องเพิ่มพูนสมรรถภาพ ความคิด การกระทำ ความสามารถ ความรู้ ความชำนาญ ตลอดจนสร้างทัศนะคติที่ดีด้วยการฝึกอบรม ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาตนที่พระพุทธเจ้าทรงใช้หลักการบัญญัติกฎระเบียบที่เรียกว่าพระธรรมวินัยให้เหมาะสมกับสถานะของแต่ละคน เช่น พระสงฆ์ให้มีศีล 227ข้อ ภิกษุณีมี ศีล 331 ข้อ สามเณรมี ศีล 10 ข้อ และฆราวาสมีศีล 5 ข้อ เป็นพื้นฐานในการพัฒนาตนให้มีความสุขด้วยการบูรณาการหลักสัปปุริธรรม 7 ได้แก่ ธัมมัญญุตา เป็นผู้รู้จักเหตุ อัตถัญญุตา เป็นผู้รู้จักผล อัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักตน มัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักประมาณ กาลัญญุตา เป็นผู้รู้จักกาล ปริสัญญุตา เป็นผู้รู้จักบริษัท และปุคคลัญญุตา เป็นผู้รู้จักบุคคล ในการเป็นอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกันแล้วสังคมและประเทศชาติจะมีความสงบสุขทั่วหน้ากัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2545). สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปราณี รามสูตร และ จำรัส ด้วงสุวรรณ. (2545). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธนะการพิมพ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตโต). (2546). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.