แนวทางการพัฒนาวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เสนอแนวทางในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้วัฒนธรรมไทยที่ครอบคลุมหลากหลายมิติ ทั้งวัฒนธรรมที่จับต้องได้ เช่น สถาปัตยกรรม เครื่องใช้ และศิลปกรรม ตลอดจนวัฒนธรรมที่ไม่มีรูปธรรม เช่น ภาษา พิธีกรรม และคติความเชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคติธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เป็นรากฐานสำคัญของสังคมไทย การศึกษาค้นคว้าพบว่า วัดมีศักยภาพในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมให้แก่คนในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดนิทรรศการ การบรรยาย และการอบรม เพื่อส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจและเห็นคุณค่าในมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ โดยบทความนี้เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของวัดในฐานะแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมไทย โดยชี้ให้เห็นว่าวัดไม่ได้เป็นเพียงสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งรวมขององค์ความรู้ทางวัฒนธรรมที่หลากหลายมิติ ทั้งในเชิงวัตถุและนามธรรม ได้แก่ 1) วัฒนธรรมในเชิงวัตถุที่พบในวัด (1) สถาปัตยกรรม วัด อุโบสถ (2) ศิลปะ พระพุทธรูป โรงเรียน (3) วัตถุประจำวัน เครื่องแต่งกาย เครื่องใช้ (4) ผลงานศิลปกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม และ 2) วัฒนธรรมในเชิงนามธรรมที่สืบทอดผ่านวัด (1) ภาษาและสัญลักษณ์ ภาษาที่ใช้ในพิธีกรรม สัญลักษณ์ทางศาสนา (2) พิธีกรรม พิธีแต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ ศพ ซึ่งมักผูกโยงกับความเชื่อทางศาสนา (3) ค่านิยมและความเชื่อ ความเชื่อเรื่องการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ค่านิยมในการดำเนินชีวิต (4) ทัศนคติ การยอมรับสิ่งที่ถูกผิด มาตรฐานในการตัดสินใจ
แนวทางการพัฒนาวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรม 1) มีพระสงฆ์หรือวิทยากรที่มีความรู้ คอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ 2) ตระหนักถึงคุณค่าทางวัฒนธรรม ทั้งในระดับชุมชน สังคม และประเทศชาติ 3) บูรณาการองค์ความรู้ ทั้งทางวัตถุ จิตใจ ความเชื่อ และคติธรรม 4) ส่งเสริมให้วัดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ จัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม เช่น การสอนภาษาบาลี สอนทำอาหารพื้นเมือง หรือจัดนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
สรุปได้ว่า วัดเป็นมากกว่าสถานที่ทางศาสนา แต่ยังเป็นคลังความรู้ทางวัฒนธรรมที่สำคัญ การส่งเสริมให้วัดเป็นแหล่งเรียนรู้ จะช่วยสืบทอดวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่สืบไป และทำให้คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมของตนเองมากยิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2532). วัฒนธรรมกับการเสริมสร้างสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: โอเอสพรินติ้งเฮ้าส์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2535). ความหมายและขอบข่ายงานวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ณรงค์ เส็งประชา. (2539). สังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร: พิทักษ์อักษร.
ทิพย์สุดา นัยทรัพย์. (2535). ภาษากับวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ศาสนากรมการศาสนา.
ธีรศักดิ์ อัครบวร. (2555). วัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิธาน สุชีวคุปต์ และสนธิ์ บางยี่ขัน. (2533). ปรัชญาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2544). คู่มือการบริหารและการจัดการโครงการทางวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
สุพัตรา สุภาพ. (2542). สังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
Siam Tradition. (2556). หน้าที่ของวัฒนธรรม. แหล่งที่มา https://traditionofthailand.blogspot.com/2013/06/blog-post_22.html สืบเมื่อ 10 ส.ค. 2566.