แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโดยใช้หลักธรรมปาปณิกธรรม 3 ของโรงเรียนในกลุ่มพระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ 2) เพื่อพัฒนาวิธีการบริหารงานวิชาการตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของผู้บริหารโรงเรียน และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของผู้บริหาร โรงเรียน เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครู 122 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน PNImodified และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นการบริหารงานวิชาการ ในภาพรวม PNImodified = 0.32 มีความต้องการจำเป็น PNImodified อยู่ระหว่าง 0.31 - 0.33 ด้านที่มีความต้องการจำเป็นอันดับที่ 1 คือ การดำเนินการในการจัดการเรียนรู้ ลำดับที่ 2 คือ การประเมินผลในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ และลำดับที่ 3 คือ การวางแผนในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ ตามลำดับ 2) วิธีการบริหารงานวิชาการตามหลักปาปณิกธรรม 3 เป็นการนำหลักการบริหารวิชาการ 3 คือ การวางแผนในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ การดำเนินการในการจัด การประเมินผลในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ กับหลักปาปณิกธรรม 3 คือ (1) จักขุมา เป็นผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ มีความรอบคอบ มีเหตุผล และมีปัญญามองการณ์ไกล (2) วิธูโร เป็นผู้บริหารที่จัดการบริหารสถานศึกษาได้ดีด้วยความเชี่ยวชาญ (3) นิสสยสัมปันโน เป็นผู้บริหารที่มีมนุษยสัมพันธ์และเป็นผู้บริหารต้นแบบอย่างที่ดี และ 3) แนวทางในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของผู้บริหารโรงเรียน ประกอบด้วย (1) หลักจักขุมา คือ ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ที่ดี ในการบริหารงานวิชาการ ดังนี้ กำหนดเป้าหมายการพัฒนา รู้จักผู้เรียนรายบุคคล มอบหมายงานครูตามความถนัด จัดทำแผนปฏิบัติการ (2) หลักวิธูโร คือ ผู้บริหารต้องมีการจัดการที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในการบริหารงานวิชาการ ดังนี้ ผู้บริหารสำรวจการเรียนรู้ มอบหมายงานครูตามความถนัด จัดการเรียนรู้ที่ทันสมัย จัดกิจกรรมบูรณาการกับการเรียนรู้ กระตุ้นให้ผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ (3) หลักนิสสยสัมปันโน คือ ผู้บริหารต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ในการบริหารงานวิชาการ ดังนี้ ผู้บริหารมีการติดต่อประสานงานกับชุมชน จัดการเรียนรู้ได้ตรงกับความต้องการของผู้เรียนแก้ปัญหาร่วมกันในการจัดการเรียนรู้ กำหนดเกณฑ์ในการนิเทศ ประเมินการปฏิบัติงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
ดาริน จำปาคำ. (2557). การส่งเสริมการใช้การเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
พระอภิรัตน์ ฐิตวิริโย (ดาประโคน). (2560). ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ริกาญจน์ โกสุมภ์ และดารณี คำวัจนัง. (2545). การเรียนรู้เพื่อการปฏิรูปการเรียนรูปและหลักสูตรการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: เมธีทิปส์.
สมพักร์ สันติพงศ์ศักดิ์. (2556). รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาเป็นการเรียนรู้โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาโรงเรียนวัดชนะสงสาร (อนันตชัยประชานุกูล) จังหวัดฉะเชิงเทรา. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
Deming, W. E. (2004). Out of the crisis. Cambridge: Massachusetts Institute of Technology.