แนวทางการพัฒนาทักษะการสื่อสารตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาทักษะการสื่อสารตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาทักษะการสื่อสารตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครู จำนวน 331 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็น และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 มีความต้องการจำเป็น PNImodified อยู่ระหว่าง 0.235-0.173 โดยภาพรวม PNImodified =0.210 ด้านที่มีความต้องการจำเป็นอันดับที่ 1 คือ ความสม่ำเสมอต่อเนื่องกัน อันดับที่ 2 คือ ความน่าเชื่อถือและช่องทางการสื่อสาร อันดับที่ 3 คือ ความสามารถของผู้รับสาร และลำดับสุดท้าย คือ ความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม 2) วิธีการพัฒนาทักษะการสื่อสารตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นการพัฒนาทักษะการสื่อสารตามหลักพุทธธรรม คือ สัปปุริสธรรม 7 ประการ ประกอบด้วยด้านธัมมัญญุตา มี 6 วิธี อัตถัญญุตา มี 5 วิธี ด้านอัตตัญญุตา มี 5 วิธี มัตตัญญุตามี 3 วิธี กาลัญญุตามี 4 วิธี ปริสัญญุตา มี 3 วิธี ด้านปุคคลปโรปรัญญุตา มี 5 วิธี และ 3) แนวทางการพัฒนาทักษะการสื่อสารตามหลักพุทธธรรม (หลักปุริสธรรม 7) ของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย (1) ธัมมัญญุตา การแสดงออกถึงความต้องการขององค์กร วิสัยทัศน์ ค่านิยมองค์กรแต่บุคลากร ใช้ภาษาที่เหมาะกับผู้ฟัง มีการแก้ปัญหาและควรคิดอย่างสร้างสรรค์ มองโลกในแง่ดีตามความเป็นจริง และชัดเจนสามารถเข้าใจได้ง่าย (2) อัตถัญญุตา การกำหนดรายงานความก้าวหน้าและความเคลื่อนไหวในการปฏิบัติงานตามเป้าหมายสื่อสารอย่างชัดเจนกับผู้ใต้บังคับบัญชา (3) อัตตัญญุตา การพูดให้ถูกต้องตามกาลเทศะ มีความเสมอต้นเสมอปลาย (4) มัตตัญญุตา การสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น มีบทบาทสำคัญในการทำให้ของบุคลากรของสถานศึกษา มีความเชื่อมั่นในองค์กร (5) กาลัญญุตา การพูดสร้างความรู้สึกหรือแรงบันดาลใจอย่างต่อเนื่อง (6) ปริสัญญุตา การมีอิทธิพลและโน้มน้าวใจได้ มีส่วนร่วมของบุคลากรของสถานศึกษา (7) ปุคคลปโรปรัญญุตา การเปิดโอกาสให้บุคลากรได้แสดงความคิดเห็นแก้ไขและติดสินใจร่วมกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
จรัสโฉม ศิริรัตน์. (2559). ปัญหาการติดต่อสื่อสารของบุคลากรในองค์กร: กรณีศึกษาสำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารบรรณศาสตร์ มศว. 9(1). 59.
ธนารัฐ ฉ่ำสุริยา. (2562). การสื่อสารภายในองค์กรที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) หลักฐานเชิงประจักษ์บริษัท แพรคติก้า จำกัด. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6(3). 12-19.
พระมหาคมเพชร วชิรปญฺโญ. (2552). การนำหลักสัปปุริสธรรม 7 มาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการส่วนท้องถิน : กรณีศึกษาเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการสื่อสาร: หลักการและการประยุกต์ใช้. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมยศ นาวีการ. (2536). การบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์บรรณกิ.
สุภางค์ จันทวานิช. (2540). วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
อรอุษา มั่งมี. (2565). การพัฒนาคุณลักษณะตามหลักสัปปุริสัปธรรม 7 ของครูโรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อัญชนา พรหมเพ็ญ. (2556). การพัฒนาทักษะการสื่อสารและสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้ออนไลน์ด้วยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ 4 หน่วยการเรียนรู้เรื่อองการนำเสนอข้อมูล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.