แนวทางการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลตามหลักอคติ 4 ของสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดอ่างทอง

Main Article Content

ประภาพร ประวัติวิไล
พระครูกิตติญาณวิสิฐ
ยุทธวีร์ แก้วทองใหญ่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัล 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัล และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลตามหลักอคติ 4 ของสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดอ่างทอง เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามประชากรในการวิจัยทั้งหมด จำนวน 141 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ จังหวัดอ่างทอง ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง ด้านวินัยและการรักษาวินัย ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ และด้านการออกจากราชการ ตามลำดับ 2) วิธีการการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลตามหลักอคติ 4 ประกอบด้วย (1) ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง มีการการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเกี่ยวกับกำลังคนโดยปราศจากความลำเอียง (2) ด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง มีปฏิบัติตามขั้นตอนไม่รักหรือชอบตกไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจนเกิดอคติ (3) ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ มีการส่งให้ไปการฝึกอบรมการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับนวัตกรรมยุคดิจิทัล (4) ด้านวินัยและการรักษาวินัย การสร้างความเข้าใจเรื่องของกฎระเบียบและค่านิยมที่ถูกต้องแก่ บุคลากรทุกคน (5) ด้านการออกจากราชการ มีกระบวนการในการพิจารณาบทลงโทษก่อนเพื่อให้ได้ปรับปรุงพฤติกรรมไว้ก่อน ก่อนให้ออกจากราชการ และ 3) แนวทางการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลตามหลักอคติ 4 ของสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดอ่างทอง ประกอบด้วย (1) การวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง ผู้บริหารต้องมีความอดทนในการจัดการสภาพปัญหาความขาดแคลนอัตรากำลัง จัดทำแผนการบริหารกำลังคน พยายามบริหารจัดการกำลังคนที่มีอยู่ในองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด (2) การสรรหาและการบรรจุแต่งตั้งให้ปราศจากอคติ (3) การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการผู้บริหารให้ความยุติธรรมกับทุกคนคอยแนะนำให้คำปรึกษายกย่องเชิดชูเกียรติครูทุกคน (4) วินัยและการรักษาวินัย สร้างความเข้าใจเรื่องของกฎระเบียบและค่านิยมที่ถูกต้องแก่บุคลากรทุกคน (5) การออกจากราชการ มีขั้นตอนและกระบวนการในการพิจารณาบทลงโทษก่อนเพื่อให้ได้ปรับปรุงพฤติกรรมก่อนให้ออกจากราชการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จำลอง สุวรรณเรือง. (2564). การเปลี่ยนแปลง. แหล่งที่มา http://www.gotoknow.org/blogs/posts/.สืบค้นเมื่อ 12 มิ.ย. 2564.

ธณกร จันทร์แก้ว. (2567). การประยุกต์หลักพุทธธรรมในการแก้ไขความขัดแย้งของบุคลากรในสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 11(2). 668-676.

พระเทพเวที(ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2533). พจนานุกรมศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเส็ง ปภสฺสโร วงษ์พันธุ์เสือ. (2554). การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานประถมศึกษา.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ฟัรฮาม เจ๊ะแม. (2559). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาอำเภอยะรัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

มาลี สุริยะ. (2554). การบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา ตามทัศนะของผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

รณกฤต รินทะชัย. (2557). การศึกษาปัญหาการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุดา สุวรรณาภิรมย์. (2548). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยบูรพา.

อับดุลเลาะ เจะโมง. (2556). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.