แนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาในยุควิถีชีวิตใหม่ ของกลุ่มโรงเรียนในสำนักงานเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

จิราภรณ์ ถีติปริวัตร
พระครูกิตติญาณวิสิฐ
สุทิศ สวัสดี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพผู้เรียนในยุควิถีชีวิตใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาในยุควิถีชีวิตใหม่ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาในยุควิถีชีวิตใหม่ เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา จำนวน 313 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ศักยภาพผู้เรียนในยุควิถีชีวิตใหม่ของกลุ่มโรงเรียนในสำนักงานเขต บางซื่อ กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมสภาพการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ด้านการคิดวิเคราะห์ ด้านการคิดสร้างสรรค์ ด้านการคิดเป็นระบบ และด้านการคิดสังเคราะห์ ตามลำดับ 2) วิธีการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาในยุควิถีชีวิตใหม่ ประกอบด้วย (1) ด้านการคิดวิเคราะห์ ควรให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมระเบียบวินัย (ศีล) เพื่อเป็นฝึกให้นักเรียนมีจิตใจที่มั่นคง (สมาธิ) (2) ด้านการคิดสังเคราะห์ ควรส่งเสริมให้นักเรียนใช้เทคโนโลยีอย่างมีคุณธรรม (ศีล) แล้วให้นักเรียนนำข้อมูลข่าวสารออนไลน์ มาวิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ (ปัญญา) ในการดำรงชีวิตวิถีชีวิตใหม่ (3) ด้านการคิดสร้างสรรค์ ควรส่งเสริมการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์บนโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ออนไลน์หรือแอปพลิเคชันเรียนอย่างมีวินัย (ศีล) นำมาคิดสร้างสรรค์และเลือกข้อมูลข่าวสารมาบริโภคอย่างมีมีสติ (สมาธิ) จากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง (4) ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ควรฝึกการใช้วิจารณญาณแก่นักเรียนในการโพสต์ข้อความหรือแชร์ความรู้สึกผ่านโซเชียลมีเดียอย่างเหมาะสม (ปัญญา) (5) ด้านการคิดเป็นระบบ ควรจัดกิจกรรมให้นักเรียนคิดอย่างเป็นระเบียบเหมาะสม (ศีล) ในการดำรงชีวิตอย่างมีสติ (สมาธิ) จากประสบการณ์ช่วยทำให้นักเรียนพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีระบบในการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารอย่างมีวิจารณญาณ (ปัญญา) ในยุควิถีชีวิตใหม่ และ 3) แนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาในยุควิถีชีวิตใหม่ เป็นการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามหลักไตรสิกขา ประกอบด้วย (1) ศีล รักษากาย วาจา การจัดกิจกรรมศักยภาพด้านความคิดส่งเสริมนักเรียนเกี่ยวกับระเบียบวินัยการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีสติสัมปชัญญะ ฝึกให้นักเรียน ตั้งใจเรียน รู้จักหน้าที่ รับผิดชอบ ปฏิบัติตามกฎระเบียบ มีเมตตา ช่วยเหลือผู้อื่นในการดำเนินชีวิต (2) สมาธิ ตั้งจิตมั่น การจัดการฝึกสมาธิส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านสื่อดิจิทัล ให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ข้อมูลข่าวออนไลน์ ฝึกคิดวิพากษ์วิจารณ์ผ่านโซเชียลมีเดีย โต้แย้งความคิดเห็นบนโซเชียลมีเดียจากสถานการณ์จำลองออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ และ (3) ปัญญา ความรอบรู้ การจัดการฝึกทักษะการเรียนรู้เน้นการเรียนรู้แบบ Active Learning เรียนรู้ด้วยการทำลงมือปฏิบัติ ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ฝึกตั้งคำถาม หาข้อสงสัย วิเคราะห์ข้อมูล โต้แย้งอย่างมีเหตุผลเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ มีวิจารณญาณได้เรียนรู้วิธีการดำเนินชีวิตปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). 12 นโยบายการจัดการศึกษา 7 วาระเร่งด่วน. แหล่งที่มา https://moe360.blog. สืบค้นเมื่อ 12 มิ.ย. 2564.

จิรกิติ์ ทองปรีชา. (2563). การบริหารจัดการการเรียนการสอน ภายใต้สถานการณ์ COVID-19 พื้นที่การศึกษาโรงเรียนวชิรธรรมสาธิต เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

นพคุณ นิศามณี. (2549). การคิดเชิงระบบ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการศึกษาทั่วไประดับประเทศครั้งที่ 3 การศึกษาทั่วไปกับการเพิ่มคุณค่าบัณฑิตระหว่าง 25-26 มีนาคม 2549 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับส่านักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.

บุญทัน ดอกไทยสง. (2551). การจัดการทุนมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ตะวัน.

พงศกร มงคลหมู่. (2563). การจัดการเรียนรู้ตามหลักพุทธธรรม. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์. 1(1). 59-69.

พระณัฐวุฒิ อคฺควฑฺฒโน (หนูเกื้อ), พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน และลําพอง กลมกูล. (2565). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. วารสารครุศาสตรปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 9(3). 12-20.

พระมนตรี กิจฺจสโร. (2561). การปรับใช้หลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนโรงเรียนศรีวิไลวิทยา อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ. วารสารธาตุพนมปริทรรศน์. 2(2). 1-2.

มาลี บุญศิริพันธ์. (2566). New Normal. แหล่งที่มา https://www.bangkokbiznews.com/ lifestyle/882508. สืบค้นเมื่อ 12 พ.ค. 2566.

ราพร ชายสวัสดิ์. (2550). การจัดการความรู้ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1. การศึกษาอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2541). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สุพิชฌา แย้มคล้าย. (2565). การจัดการเรียนการสอนของครูในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามหลักสติสัมปชัญญะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Billionniere. (2011). Assessing Cognitive Learning of Analytical Problem Solving. USA: Arizona State University.

Seitz. (2009). Integrating contemplative and student-centered education: A synergistic approach to deep learning, Thesis. University of Massachusetts.