แนวทางการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมบุคลากรตามหลักพุทธธรรมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการทำงานเป็นทีมบุคลากร 2) เพื่อศึกษาวิธีการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของบุคลากรตามหลักพุทธธรรม และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมบุคลากรตามหลักพุทธธรรม เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครู จำนวน 291 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการทำงานเป็นทีมของบุคลากรของโรงเรียน ในภาพรวมมีสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกลุ่ม ด้านการติดต่อสื่อสารที่ดี ด้านบทบาทที่สมดุล ด้านวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับเป้าหมาย ด้านการเปิดเผยและเผชิญหน้า ตามลำดับ 2) วิธีการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของบุคลากรตามหลักพุทธธรรม เป็นการนำการทำงานเป็นทีมบุคลากรของโรงเรียน ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านบทบาทที่สมดุล ด้านวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับเป้าหมาย ด้านวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับเป้าหมาย ด้านการติดต่อสื่อสารที่ดี และด้านสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกลุ่ม เพื่อบูรณาการกับตามหลักพุทธธรรม คือ หลักสาราณียธรรม 6 ประการ และ 3) แนวทางการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมบุคลากรตามหลักพุทธธรรม (สาราณียธรรม 6) ประกอบด้วย (1) เมตตากายกรรม การประพฤติปฏิบัติดีเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดี และมีความรู้สึกที่ดีกับทีมงานทุกคน (2) เมตตาวจีกรรม ตั้งสัตย์วาจาว่าการสื่อสารด้วยพูดที่สร้างสรรค์ในทีมช่วยให้สำเร็จในการทำงานอย่างดียิ่งขึ้น (3) เมตตามโนกรรม การมีจิตใจที่โอบอ้อมอารีย์ (4) สาธารณโภคิตา การแบ่งปันลาภที่ได้มากับทีมงาน (5) สีลสามัญญตา การรักษาศีลบริสุทธิ์ในทีมงานคือ การมีจิตใจที่เป็นกุศลในทีมงานเพื่อให้มีคุณธรรม (6) ทิฏฐิสามัญญตา มีความเห็นร่วมกันกับทีมงาน เป็นสิ่งที่สำคัญในการสร้างความสามัคคีในทีมงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
เบญจมาศ นิลกำแหง. (2559). รูปแบบการพัฒนาทีมงานที่มีประสิทธิภาพในสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
พระดนัย อนาวิโล (บุญสาร). (2554). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในสถานศึกษา: กรณีศึกษาผู้บริหาร สถานศึกษาจังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุลาลงกรณราชวิทยาลัย.
เรณู เชื้อสะอาด. (2552). การศึกษาการทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูในโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองนครเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ลัคพงษ์ โกษาแสง. (2553). การศึกษาการทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนระดับประถมศึกษา อำเภอสอยดาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิเชียร วิทยอุดม. (2545). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: ธนธัชการพิมพ์.
วิเชียร วิทยอุดม. (2551). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: ธนธัชการพิมพ์.
สุวรรณา พงษ์ผ่องพูล, (2558). การทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อการบริหารวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
อรพรรณ คิอินธิ และ ไพบูลย์ลิ้มมณี. (2560). การพัฒนาแนวทางการทำงานเป็นทีมของครูสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
อรอนงค์ ฉิมสุข ฉายาลักษณ์. (2566). การสร้างมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน. แหล่งที่มา https://www.gotoknow.org/posts/ สืบค้นเมื่อ 25 พ.ค. 2566.
อาภรณ์รัตน์ เลิศไผ่รอด. (2554). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการสาธารณะตามหลักสาราณีย ธรรมขององค์การบริการตำบลหนองกรด จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อารีย์ ไกรเทพ. (2560). การศึกษาพฤติกรรมการสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายท่าแซะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
อำนวย มีสมทรัพย์. (2553). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีมกับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
Grimmer, J. L. (2014). Leadership and Team Building Factors that Contribute to the Success of Archives and Records. Doctoral Dissertation of Philosophy in Education. Western Washington University.