แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักอปริหานิยธรรม สำหรับโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียนขยายโอกาส 2) เพื่อศึกษากระบวนการบริหารสถานศึกษาตามหลักอปริหานิยธรรม และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักอปริหานิยธรรม เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 225 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส 1 ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานทั่วไป ตามลำดับ 2) กระบวนการบริหารสถานศึกษาตามหลักอปริหานิยธรรม (1) ด้านการบริหารวิชาการ มีการหมั่นประชุมวางแผน กำหนดแนวทางการปฏิบัติงานวิชาการร่วมกัน ติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ทำตามกฎระเบียบ รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังข้อเสนอแนะของบุคลากรทุกคน มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน (2) ด้านการบริหารงบประมาณ มีการจัดทำแผนงบประมาณ และการจัดซื้อจัดจ้างให้ถูกต้องตามกฎระเบียบ สามารถตรวจสอบได้ในทุกกระบวนการ และจัดหาทรัพยากรเพื่อพัฒนาสถานศึกษา มีการจัดประชุมก่อนตัดสินใจใช้จ่ายงบประมาณ (3) ด้านการบริหารบุคคล มีการหมั่นประชุมสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติงาน ให้ความเคารพในสิทธิและหน้าที่ของครู ไม่อคติต่อผู้ใต้บังคับบัญชา จัดวางคนได้เหมาะสมกับงาน สนับสนุนให้ครูมีความรู้ความสามารถและมีวิทยฐานะ ดูแลพฤติกรรม ป้องกันการกระทำผิดวินัย สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ครูและบุคลากร เสริมสร้างความสามัคคี สนับสนุนให้ครูและบุคลากรได้รับสวัสดิการต่างๆ (4) ด้านการบริหารงานทั่วไป มีการหมั่นประชุมสร้างความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงาน ปฏิบัติกิจการอย่างพร้อมเพรียงกัน ยึดมั่นในกฎระเบียบ ไม่เป็นการล้มล้างขั้นตอนการทำงานที่สำคัญของโรงเรียน จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนและชุมชน มีการจัดกิจกรรมบำรุงศาสนาและให้ความร่วมมือกับวัดในกิจกรรมต่างๆ และ 3) แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักอปริหานิยธรรม เป็นแนวทางในการสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งความร่วมมือ เสริมสร้างความสามัคคี รับผิดชอบร่วมกัน ส่งผลให้ไม่เกิดความขัดแย้งภายในองค์กร มีการติดตามประเมินผลการทำงาน ยึดถือกฎระเบียบ ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกระเบียบ โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อชุมชนและสังคม ตลอดจนดูแลป้องกันและสร้างขวัญกำลังใจแก่ครูและบุคลากร ทำให้เกิดความเจริญทั้งทางคุณภาพชีวิตของคนในองค์กร และความเจริญทางวัฒนธรรมขององค์กร นำไปสู่ความสุขและความเจริญของหมู่คณะ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
ทิพวรรณ กันยาประสิทธิ์. (2566). การบริหารงานบุคคลตามหลักอปริหานิยธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. 3(8) 22.
นิตยา คงเกษม. (2562). แนวทางการบริหารโรงเรียนตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายพระบางเจ้าพระยา เมือง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ปาลภัสสร์ อัญบุตร. (2555). การศึกษาความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานทั่วไปโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
พระจตุพล ปญฺญาธโร (ขุนทองแก้ว). (2565). ศึกษาวิธีการพัฒนาองค์กรตามหลักอปริหานิยธรรม กรณีศึกษาศูนย์แผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาตั๋ณฐวัฒน์ ธมฺมธีโร (ถําวาปี). (2564). แนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักอปริหานิยธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสุรชัย สุรชโย (ทองกันยา). (2564). การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการปกครองคณะสงฆ์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เมฆ มีศิริ. (2551). การศึกษาปัญหาและความต้องการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานวิชาการของบุคคลากรสายผู้สอนที่ไม่ใช่ข้าราชการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1-7. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สมบัติ รัตนคร. (2559). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาตามหลักพระพุทธศาสนา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 3(1). 104-112.
เสนอ อัศวมันตา. (2557). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมของผู้บริหารในเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร.ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เอกวิทย์ ทับทวี. (2566). แนวทางการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาจังหวัดชัยนาทตามหลักอปริหานิยธรรม 7. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.