แนวทางการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานตามหลักภาวนา 4 ของบุคลากรในสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบูรพาบางปะอิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

Main Article Content

ธนวัฒน์ จันทน์สุคนธ์
พระครูวิรุฬห์สุตคุณ
พีรวัฒน์ ชัยสุข

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานตามหลักภาวนา 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานตามหลักภาวนา 4 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามประชากรทั้งหมดในการวิจัยที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษาครูผู้สอน จำนวน 115 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการปฏิบัติงานของบุคคลากรในสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบูรพาบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการประเมินการพัฒนาศักยภาพ ด้านการดำเนินการพัฒนาศักยภาพ ด้านการพัฒนาศักยภาพ ด้านการวางแผนการพัฒนาศักยภาพ ตามลำดับ 2) วิธีการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานตามหลักภาวนา 4 เป็นการนำการปฏิบัติงานของบุคลากร ประกอบด้วยการวางแผนการพัฒนาศักยภาพ การดำเนินการพัฒนาศักยภาพ การประเมินการพัฒนาศักยภาพ การพัฒนาศักยภาพ เพื่อบูรณาการตามหลักภาวนา 4 ประกอบด้วย (1) กายภาวนา การฝึกอบรมกาย (2) สีลภาวนา การฝึกอบรมศีล (3) จิตภาวนา การฝึกอบรมจิตใจ (4) ปัญญาภาวนา การฝึกอบรมปัญญา และ 3) แนวทางการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานตามหลักภาวนา 4 ประกอบด้วย (1) การวางแผนการพัฒนาศักยภาพ การวางแผนพัฒนาศักยภาพบุคลากรในด้านที่ตรงตามความต้องกางของแต่ละคน (2) การดำเนินการพัฒนาศักยภาพ การจัดการดำเนินการพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการการพัฒนาของบุคลากรเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อบุคลากร รวมทั้งสถานศึกษา (3) การประเมินการพัฒนาศักยภาพ การประเมินการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้วยวิธีการอย่างยุติธรรม เที่ยงตรง เท่าเทียมกัน (4) การพัฒนาศักยภาพ การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษาเป็นระยะๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของตนเอง สามารถนำมาใช้พัฒนาสถานศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธีรยุทธ์ หล่อเลิศรัตน์. (2558). การบริหารงานบุคคลภาครัฐ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เนตรชนก ดวนใหญ่. (2562). การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในศาลอาญา ยุคดิจิทัล ประจำปี 2562.วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปริยาภัทร ศรีเพชร. (2558). แนวทางการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรหน่วยงานอาชีวศึกษา จังหวัดระยอง กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคระยอง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี

พจน์ พจนพาณิชย์กุล. (2561). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของบุคคล. แหล่งที่มา https://sites.google.com/view/drpotpage1/. สืบค้นเมื่อ 12 ก.พ. 2561.

พวงมาลัย ทีหนองสังข์, มนวิภา วงรุจิระ และไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์. (2566). การประเมินการพัฒนาศักยภาพของนักบริหารงานประชาสัมพันธ์ผ่านหลักสูตรของสถาบันการประชาสัมพันธ์. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร. 8(1). 63.

ไพโรจน์ สิตปรีชา. (2560). การบริหารงานบุคคลในรัฐวิสาหกิจ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภัททิยา โสมภีร์. (2561). การพัฒนาบุคลากรกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2560). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.