แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลสำหรับสถานศึกษาในเขตอำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาอุปสรรคด้านการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาล และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาล เป็นการวิจัยผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 172 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาอุปสรรคด้านการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา เขตอำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และรายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านบริหารการเงิน ด้านบริหารพัสดุทรัพย์สิน และด้านบริหารบัญชี ตามลำดับ 2) วิธีการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาล (1) สถานศึกษาต้องมีแผนการบริหารการเงินที่ชัดเจนสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายการบริหารการเงินการจัดทำบัญชีและรายงานการเงินที่ถูกต้อง ครบถ้วน ตรงต่อเวลา (2) บริหารการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด คุ้มค่า มีระบบการควบคุมภายในตรวจสอบโปร่งใส และ (3) นำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารการเงินและพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีมาตรการป้องกันความเสี่ยง และพัฒนาทักษะบุคลากร ฝึกอบรมให้ความรู้การเงิน และระเบียบการบริหารการเงินแก่บุคลากรผู้รับผิดชอบ และ 3) แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาล (1) ด้านบริหารการเงิน สถานศึกษาต้องจัดทำแผนการใช้งบประมาณ มีวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ชัดเจน การพัฒนาระบบติดตาม ตรวจสอบการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ และจัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจระเบียบข้อบังคับการใช้งบประมาณแก่บุคลากร (2) ด้านบริหารบัญชี สถานศึกษาควรพัฒนาระบบบัญชีให้ถูกต้อง ครบถ้วน ตรงต่อเวลา จัดทำรายงานทางการเงินที่ถูกต้อง ครบถ้วน ตรงต่อเวลาและเก็บรักษาเอกสารหลักฐานทางการเงินอย่างครบถ้วน ตรวจสอบได้ (3) ด้านบริหารพัสดุและสินทรัพย์ สถานศึกษาควรจัดทำแผนพัสดุและสินทรัพย์ชัดเจน และระบบการจัดซื้อจัดจ้างให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้จากการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ ให้มีประสิทธิผล คุ้มค่า ประหยัด มีประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนบริหาร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กรรณิกา รู้แผน. (2566). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล กลุ่มโรงเรียนวชิรปราการ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
จินดา สายคำ. (2546). กลยุทธ์ความสำเร็จของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันราชภัฏสกลนคร
ชัยสิทธิ์ เฉลิมมีประเสริฐ. (2544). มาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 Hurdles กับการจัดทำงบประมาณระบบใหม่. กรุงเทพมหานคร: ธีระฟิล์ม แอน ไซเท็กซ์.
ทักษิณา เหลืองทวีผล. (2551). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
นิภาเพ็ญ เสมรสุต. (2544). การประเมินผลการวางแผนงบประมาณภายใต้ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน:กรณีศึกษากรมทะเบียนการค้าและสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11. แหล่งที่มา http://www.nesdb.go.th/Portals/0/news/plan/p11/plan11.pdf. สืบค้นเมื่อ 3 มิ.ย. 2566.
สุชิน เรืองบุญส่ง. (2551). การศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
อุทร พินิจมนตรี. (2540). การศึกษาสภาพและปัญหาการปฏิบัติงานการเงินและพัสดุโรงเรียนในสังกัดงานการประถมศึกษาจังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Kae H. Chung & Leeon C. Magginson. (1981). Organization Behavior Development Managerial Skills. New York: Harper and Row Pubisher.