แนวทางการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักวุฒิธรรม 4 ของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง

Main Article Content

ปัทมพร ทรัพย์วโรบล
เกษม แสงนนท์
ลำพอง กลมกูล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักวุฒิธรรม 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการส่งเสริมการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักวุฒิธรรม 4 ของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครูจำนวน 181 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของโรงเรียน โดยภาพรวมมีสภาพการบริหารอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีด้านที่มีสภาพการบริหารอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการวางแผนงานด้านวิชาการตามลำดับ ด้านการนิเทศการศึกษา/การติดตาม ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และด้านที่มีระดับสภาพการบริหารอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการวัดผล ประเมินผล และด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตามลำดับ 2) วิธีการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักวุฒิธรรม 4 ประกอบด้วย (1) ผู้บริหารจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายและเป้าหมายของสถานศึกษาเพื่อเป็นทิศทางในการทำงาน (2) ผู้บริหารจะต้องทำการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หลักสูตรสถานศึกษาอิงตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (3) ผู้บริหารจะต้องกำหนดให้ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ (4) ผู้บริหารจะต้องส่งเสริมบุคลากรใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ออนไลน์และมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (5) ผู้บริหารจะต้องกำหนดระเบียบการวัดและประเมินผลของสถานศึกษาอย่างหลากหลาย (6) ผู้บริหารจะต้องส่งเสริมให้ครูจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียน 7) ผู้บริหารจะต้องจัดการนิเทศภายในและภายนอกสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง และ 3) แนวทางในการส่งเสริมการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักวุฒิธรรม 4 ประกอบด้วย (1) สัปปุริสังเสวะ การคบผู้มีความรู้และประพฤติดี ผู้บริหารต้องมีการสร้างเครือข่ายในการการวางแผนงานด้านวิชาการ เพื่อกำหนดจุดมุ่งหมายและเป้าหมายของสถานศึกษา (2) สัทธัมมัสสวนะ การเอาใจใส่ในการแสวงหาความรู้ ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญและฝ่ายวิชาการเกี่ยวกับวิธีการพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะกับบริบทโรงเรียน และพัฒนาการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ (3) โยนิโสมนสิการ การไตร่ตรองอย่างรอบคอบก่อนลงมือปฏิบัติ ผู้บริหารและฝ่ายวิชาการพิจารณาแผนการจัดการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระอย่างรอบคอบร่วมกับใช้สื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ (4) ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ การปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ผู้บริหารกำหนดระเบียบการวัดและประเมินผลของสถานศึกษาและนำผลการประเมินไปใช้แก้ไขปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียน และจัดทำระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและฝ่ายวิชาการ จัดทำระบบบริหารและสารสนเทศเพื่อรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปีโดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2445 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กิ่งแก้ว เฟื่องศิลา. (2558). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ (ศรีวิทยากร). สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ขวัญชนก คงพิบูลย์, พระมหาสมบัติ ธนปญฺโญ และพระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน. (2567). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามหลักวุฒิธรรม 4 ของโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 11(2). 229-241.

นิยม รัชตะวัฒน์วินัย. (2560). แนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นูรไลลา หลังปูเต๊ะ. (2565). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศูนย์เครือข่ายทุ่งยางแดงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานีเขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ปาริชาติ ชมชื่น. (2555). รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีประสิทธิผลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

เปรมปวีร์ รักความซื่อ. (2560). การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามหลักสังคหวัตถุ 4โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีกลุ่ม 1. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พรศิริ ประสพบุญ. (2561). สภาพการบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาล จังหวัดกระบี่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 10(1). 21-22.

ภคพร เลิกนอก. (2563). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 7(2) 150.

มินตรา ลายสนิทเสรีกุล และปิยพงษ์ สุเมตติกุล. (2557). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา กรุงเทพมหานคร. วารสาร OJED. 9(3). 392-406.

รุ่ง แก้วแดง. (2552). ปฏิบัติการศึกษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

วัชรินทร์ ปะนามะเก. (2558). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 5(2). 52.

วัลลภ พัฒนผล. (2560). ปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสตรีประเสริฐศิลป์ จังหวัดตราดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สาริณี อาษา. (2564). วุฒิธรรม 4: พุทธธรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วม. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์. 2(2). 1-9.

สารินทร์ เอี่ยมครอง. (2561). แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในจังหวัดชัยนาท สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง.(2566). รายงานประจำปี 2566. อ่างทอง: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2548). พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา 2546. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักมาตรฐานวิชาชีพ. (2548). มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อ้อมเดือน วัฒนศรศักดิ์. (2561). สภาพการบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2.วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 6(1). 79-87.

อัมพร อินผง. (2555). การบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตยานนาวา สังกัดกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2565). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. แหล่งที่มา https://www.TruePlookpanya.com/education/content/52232. สืบค้นเมื่อ 20 ต.ค. 2565.

Chester. (2010). An Introduction to School Administration: Selected Reading. New York: McMillan Company.