แนวทางการพัฒนาการบริหารงานทั่วไปตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนกลุ่มเสมาท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

อภิชาติ ธรรมเภรี
ผด็จ จงสกุลศิริ
ยุทธวีร์ แก้วทองใหญ่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานทั่วไปของบุคลากรทางการศึกษา 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารงานทั่วไปตามหลักสังคหวัตถุ 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานทั่วไปตามหลักสังคหวัตถุ 4 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามประชากรทั้งหมดในการวิจัย จำนวน 121 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานทั่วไปตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนกลุ่มเสมาท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านงานกิจการนักเรียน ด้านกลุ่มงานอาคารสถานที่ ด้านกลุ่มงานความสัมพันธ์กับชุมชน ด้านงานธุรการ ตามลำดับ 2) วิธีการบริหารงานทั่วไปตามหลักสังคหวัตถุ 4 เป็นการนำหลักการบริหารงานทั่วไปประกอบด้วยด้านกลุ่มงานอาคารสถานที่ ด้านงานธุรการ ด้านงานกิจการนักเรียน ด้านกลุ่มงานความสัมพันธ์กับชุมชน บูรณาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ได้แก่ (1) ทาน การให้เสียสละ (2) ปิยวาจา การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะจริงใจ (3) อัตถจริยา การทำประโยชน์ส่วนร่วม (4) สมานัตตตา การประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย และ 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานทั่วไปตามหลักสังคหวัตถุ 4 ประกอบด้วย (1) ด้านทาน ผู้บริหารสถานศึกษาให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ร่วมงาน ส่งเสริมและสนับสนุนให้กำลังใจช่วยแนะนำแนวทางแก้ไขปัญหา มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ (2) ด้านปิยวาจา ผู้บริหารสถานศึกษาไม่พูดส่อเสียด เหน็บแนม หรือคำหยาบคาย ควรพูดชี้แจงอธิบายเหตุผลอย่างเหมาะสมด้วยความจริงใจ (3) ด้านอัตถจริยา ผู้บริหารสถานศึกษาช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ ยินดีและพร้อมรับฟังปัญหาและให้คำปรึกษา เป็นแบบอย่างที่ดี (4) ด้านสมานัตตตา ผู้บริหารสถานศึกษารบริหารงานมชัดเจนตรวจสอบได้ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีแนะนำส่งเสริมผู้ใต้บังคับบัญชาในสิ่งที่เป็นประโยชน์ มีความเป็นกลาง มีความยุติธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

จตุพร ศรีลานคร, พระครูชัยรัตนากร และเอนก ศิลปะนิลมาลย์. (2564). การบริหารงานบุคลากรตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 10(1). 574-585.

จักรวาล สุขไมตรี. (2562). การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลพะตงอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารราชพฤกษ์. 17(2). 105-106.

พระครูธํารงวงศ์วิสุทธิ์ (ธีรศักดิ์ ธีรสกฺโก), พระมหาสมบัติ ธนปญฺโญ และลําพอง กลมกูล. (2566). ศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาการจัดการงานสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธของคณะสงฆ์ไทย. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์. 4(1). 1-9.

พระครูประภัศร์ธรรมาภิรักษ์ (จันเขียด). (2561). การบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พระอนุศิษฏ์ สิริปุญฺโญ. (2557). การนำหลักสังคหวัตถุ 4 ไปใช้ในการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอ ฆ้องชัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยมหากุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 1(15). 47-48.

โยธิกา เลิศรัตยากุล, พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน, สมศักดิ์ บุญปู่ และกฤษฎา นันทเพ็ชร. (2564). ระบบการส่งเสริมดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสถานศึกษาตามหลักพุทธธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 8(3). 166-178.

วิรัตน์ มะโนวัฒนา. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง.