แนวทางการพัฒนาการทำงานเป็นทีมตามหลักสาราณียธรรม 6 ของครูกลุ่มโรงเรียนวังคชสาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

มาริสา มุกดาดวง
เผด็จ จงสกุลศิริ
]อินถา ศิริวรรณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการทำงานเป็นทีมของครู 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาการทำงานเป็นทีมตามหลักสาราณียธรรม 6 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการทำงานเป็นทีมตามหลักสาราณียธรรม 6 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเขิงปริมาณใช้แบบสอบถามประชากรทั้งหมดในการวิจัย จำนวน 170 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 6 คนวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการทำงานเป็นทีมของครูกลุ่มโรงเรียนวังคชสาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 4 ด้าน คือ ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ ด้านการไว้วางใจซึ่งกันและกัน ด้านเป้าหมายของทีม ด้านการยอมรับนับถือ และรายด้านอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการสื่อสาร ตามลำดับ 2) วิธีการพัฒนาการทำงานเป็นทีมตามหลักสาราณียธรรม 6 มีวิธีการดังนี้ (1) การไว้วางใจซึ่งกัน ครูมีการสร้างสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความไว้วางใจต่อกันเข้าไปช่วยด้วยกำลังกายมีไมตรีจิตต่อกันทางวาจาด้วยปรารถนาดีต่อกัน ยิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน ปฏิบัติให้มีความบริสุทธิ์ให้เกียรติต่อความคิดของเพื่อนร่วมงาน (2) การสื่อสาร มีบุคลิกภาพที่ดีมีการสื่อสารดี ด้วยวาจาสุภาพมีความน่าเชื่อถือมีความรักต่อกัน รู้จักแบ่งกันกินแบ่งกันใช้ ประพฤติดีงามและมีทัศนคติของตัวให้เข้ากับคนหมู่มาก (3) เป้าหมายของทีม ร่วมกันวางแผนการทำงานด้วยความเต็มใจให้ความเคารพนับถือกัน รับฟังความคิดเห็นของทีมงานของสมาชิกในทีม (4) การยอมรับนับถือ การสร้างการยอมรับนับถือต้องเริ่มจากการนับถือกันด้วย ร่วมกันพูดคุยกันเพื่อแก้ปัญหาที่ให้การยอมรับหัวหน้าทีมและร่วมสุขร่วมทุกข์กันด้วยกัน (5) การมีปฏิสัมพันธ์ ควรเข้าไปสร้างความสัมพันธ์ทางกายที่ดีกับสมาชิกกับเพื่อนด้วยความเต็มใจสานสัมพันธ์อันดีและเชื่อมั่น และ 3) แนวทางการพัฒนาการทำงานเป็นทีมตามหลักสาราณียธรรม 6 ประกอบด้วย (1) การไว้วางใจซึ่งกันและกัน ครูควรเคารพในการทำหน้าที่ ทำงานตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มกำลัง ให้คำแนะนำ ให้กำลังใจผู้ร่วมงาน และร่วมกันชำระเงินสวัสดิการสำหรับการจัดกิจกรรม (2) การสื่อสาร ครูควรสื่อสารด้วยความเคารพ ใช้วาจาสุภาพมีเหตุผลและสื่อสารอย่างไม่มีอคติ (3) เป้าหมายของทีม ครูร่วมมือในการทำงานตามมติของทีมพูดอย่างสร้างสรรค์คิดทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ให้ความเคารพสิทธิของกันและกัน (4) การยอมรับนับถือ ครูควรยอมรับในความแตกต่างของผู้อื่น พูดจาด้วยคำสุภาพ ยอมรับฟังความคิดเห็นต่างของผู้อื่นเมื่อมีความคิดต่างจากผู้อื่น อาจต้องปรับทัศนคติของตนเองด้วย (5) การมีปฏิสัมพันธ์ ครูควรให้ความช่วยเหลือกับเพื่อนร่วมงาน แสดงน้ำใจ ยิ้มแย้มแจ่มใสมองในแง่มุมที่ดีรู้จักการแบ่งปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และไม่วางอำนาจเบียดเบียนผู้อื่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เทพินทร์ จารุศุกร. (2554). แนวทางและวิธีการในการพัฒนาการทำงานเป็นทีมของครูโรงเรียนสารสาสน์วิเทศเชียงใหม่ การค้นคว้าแบบอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นิภาพร นาราช. (2558). การสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดนครนายก สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา

พระดนัย อนาวิโล (บุญสาร). (2554). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมใน สถานศึกษา : กรณีศึกษาผู้บริหารสถานศึกษาจังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพมหานคร: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

พระมหาสุทัศ สุทสฺสโน (นุราช). (2552). ศึกษาบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธระดับประถมศึกษา เขตบางกอกน้อยกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2536). ธรรมะสำหรับประชาชน. กรุงเทพมหานคร: คลังวิชา.

ภัทราวดี หนูพงษ์. (2559). มนุษยสัมพันธ์ของผู้บังคับบัญชาตามหลักสาราณียธรรม 6 โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มัลลิกา วิชชุกรอิงครัต. (2553). การศึกษาการทำงานเป็นทีมของพนักงานครูเทศบาล สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

เรณู เชื้อสะอาด. (2552). การศึกษาการทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูในโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองนครเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2556). การสร้างทีมงาน. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.

วีรศักดิ์ ปอ สุรเมธี. (2566). การไว้วางใจซึ่งกันและกัน. แหล่งที่มา www.gotoknow.org สืบค้นเมื่อ 29 ต.ค. 2566.

อำนวย มีสมทรัพย์. (2553). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีมกับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

อุณากรรณ์ สวนมะม่วง. (2553). การศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1 และเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

Jasper, J. D. (2010). Teaming as a School Enhancement strategy: An Examination of the Conditions, Features and Dynamics of Teacher Work Teams in two Local Elementary Schools. Doctoral Dissertation of Philosophy in Education. University of California Santa Barbara. California.