แนวทางการบริหารงานบุคคลในศตวรรษที่ 21 ตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหาร ในโรงเรียนกลุ่มบูรพาบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคลในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหาร 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารงานบุคคลในศตวรรษที่ 21 ตามหลักพุทธธรรม และ 3) เพื่อแนวทางการบริหารงานบุคคลในศตวรรษที่ 21 ตามหลักพุทธธรรม เป็นการวิจัยแบบผมนวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามประชากรทั้งหมดในการวิจัยที่เป็นผู้บริหารและครู จำนวน 115 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานบุคคลในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหาร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการสรรหาบุคลากร ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร และด้านการวางแผน ตามลำดับ 2) วิธีการบริหารงานบุคคลในศตวรรษที่ 21 ตามหลักพุทธธรรม เป็นการประยุกต์การบริหารงานบุคลากร 4 ด้าน คือ การวางแผน การสรรหาบุคลากร การพัฒนาบุคลากร การประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร กับหลักพุทธธรรม คือ หลักพรหมวิหาร 4 ได้แก่ (1) เมตตา ความรัก (2) กรุณา สงสาร (3) มุทิตา แสดงความยินดี (4) อุเบกขา วางตัวเป็นกลาง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานบุคคลในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 3) แนวทางการการบริหารงานบุคคลในศตวรรษที่ 21 ตามหลักพุทธธรรม ประกอบด้วย (1) การพัฒนาบุคลากรจัดมีการสัมมนาทางวิชาการในการการพัฒนาองค์ความรู้แก่บุคลากรเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน (2) การสรรหาบุคลากร ควรจัดหาบุคลากรตรงตามสายงานปฏิบัติหน้าที่เกิดประสิทธิผลสูงสุดในการปฏิบัติงาน (3) การประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร ควรกำหนดเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานให้บุคลากรทราบล่วงหน้า โดยยึดระเบียบเป็นพื้นฐาน และควรนำผลการประเมินการปฏิบัติงานบุคลากรมาใช้เป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาบุคลากรให้ดียิ่งขึ้น (4) การวางแผน ควรสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถมาปฏิบัติงานเพื่อทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย หรือหัวหน้าการใส่ใจในการดูแลลูกน้องเสมือนหนึ่งสมาชิกในครอบครัว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.(2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
จตุพร บัวระภา, สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย และสมศักดิ์ บุญปู่. (2567). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์. 5(2). 331-342.
จันจิรา อินต๊ะเสาร์. (2550). การบริหารงานบุคลากรในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทิพยาพัศ คลังแสง. (2556). การบริหารงานตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้อำนวยการสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัด เทศบาลนครนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูวิวัฒน์ธรรมานุกูล (อ๊อด ธมฺมปาโล). (2559). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 ของโรงเรียนประถมศึกษา เขตสายไหม สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสิทธิวรธรรมวิเทศ จารุธมฺโม (ลือบางใหญ่). (2559). การพัฒนาการบริหารบุคลากรในสถานศึกษาตามหลักไตรสิกขาโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตบางกอกใหญ่กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพน์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระณัฐวุฒิ สุชาโต (คลังเงิน). (2563). การบริหารงานบุคคลโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 7(2). 301.
พระนิรันดร์ สุทฺธิเมตฺติโก. (2552). การบริหารงานบุคคลในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตบางกอกน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระปลัดมงคล วราสโย (เรืองอาคม). (2560). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 โรงเรียนประถมศึกษา อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิลาวรรณ เสนนอก. (2557). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม 7 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.