ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักอิทธิบาท 4

Main Article Content

นันทพัทธ์ วงศ์กันตา
พระมหาอุดร อุตฺตโร
ธานี เกสทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด และ 2) เพื่อหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามหลักอิทธิบาท 4 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 137 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมมีสภาพอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีสภาพอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ ด้านที่มีสภาพอยู่ในระดับมาก คือ ด้านวิธีการคิดเชิงปฏิวัติ ด้านการมีความคาดหวังและการสร้างโอกาสสำหรับอนาคต ด้านความคิดความเข้าใจระดับสูง และด้านความสามารถในการนำปัจจัยนำเข้าต่างๆ มากำหนดกลยุทธ์ ตามลำดับ และ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย (1) ความคิดความเข้าใจระดับสูง ผู้บริหารสถานศึกษาควรเข้าใจและสนับสนุนวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา สร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี พัฒนาตนเองและองค์กรอย่างต่อเนื่อง (2) การนำปัจจัยนำเข้ามากำหนดกลยุทธ์ ผู้บริหารสถานศึกษาควรวางแผนจัดการทักษะและการสื่อสาร สนับสนุนการทำงานเป็นทีม ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และใช้ความรู้ของชุมชนในชีวิตประจำวัน (3) ความคาดหวังและการสร้างโอกาสสำหรับอนาคต ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาวิสัยทัศน์ผ่านการอบรมและการดูงาน เสนอแผนการปรับปรุงที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และติดตามการปฏิบัติงาน (4) วิธีการคิดเชิงปฏิวัติ ผู้บริหารสถานศึกษาควรกำหนดตัวชี้วัดและรางวัล ทำการวิเคราะห์ SWOT กระตุ้นการคิดนอกกรอบและพัฒนาจุดอ่อนของสถานศึกษา (5) การกำหนดวิสัยทัศน์ สร้างบรรยากาศการทำงานที่มีความสุข ส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรม ระดมความคิดเพื่อพัฒนาเป้าหมายและกลยุทธ์ขององค์กร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นฤมล สุภาทอง. (2551). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

ปนัดดา วรกานต์ฑิวัตส์. (2554). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนกรุงเทพมหานคร ตามการรับรู้ของผู้บริหารและครู. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พระมหาไกรวรรณ ปุณขันธ์. (2552). ผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสำนักเรียนพระปริยตธรรม. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัฒน์พรชัย เมฆวิลัย. (2565). การบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ในวิกฤติการณ์โควิด 19. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์. 3(1). 41-49.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ทิพยวิสุทธิ์.

สุพรรณี ประศรี. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาลับ การดำเนินการประกันคณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

สุภัสสรา วันทมาตย์ และพระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน (2566). SUPAT Model: รูปแบบการเรียนรู้สู่การพัฒนานวัตกรรมผู้เรียนร่วมกับหลักอิทธิบาท 4 ในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 10(2). 519-528.

อัจฉรา ถารบุตร (2551). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามการรับรู้ของครูผู้สอน สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.

Dubrin, A. J. (2004). Leadership: Research Findings Practice and Skills. 4th ed. New York: McGraw – Hill.