แนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักอริยสัจ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และ 2) เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักอริยสัจ 4 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 136 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดนครสวรรค์ ในภาพรวมมีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน คือ การพัฒนาคุณภาพ การประเมินคุณภาพ และการติดตาม ตรวจสอบ ตามลำดับ และ 2) แนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักอริยสัจ 4 ประกอบด้วย (1) การประเมินคุณภาพ ผู้บริหารควรสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นกำลังใจให้กับบุคลากรในการให้ความสำคัญกับงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยการส่งเสริมการเรียนรู้และความเข้าใจในงานดังกล่าว นอกจากนี้ ควรกำหนดนโยบายการบริหารที่ชัดเจนและยืดหยุ่นเหมาะสม และสร้างทีมงานที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาและปรับปรุงงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา มีการนิเทศและให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน รวมถึงการตรวจสอบและรายงานความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง (2) การติดตาม ตรวจสอบ ผู้บริหารต้องสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นให้กับบุคลากรเกี่ยวกับความสำคัญของงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบในการตรวจสอบและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในทุกด้านของการดำเนินงานจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการพัฒนาและปรับปรุงอย่างมีประสิทธิภาพในสถานศึกษา (3) การพัฒนาคุณภาพ ผู้บริหารต้องชี้แจงความสำคัญของงานประกันคุณภาพและสร้างทีมงานที่มีส่วนร่วมในการติดตามและปรับปรุงคุณภาพการศึกษา การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบในการตรวจสอบและปรับปรุงทุกด้านของการดำเนินงานจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในสถานศึกษา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กมลพรรณ เพชรน้ำ. (2562). การจัดการความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพาน ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ชาญวิทย์ สุริพันธ์วรโชติ. (2563). การศึกษาสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
โชคชัย พรหมมาก. (2561). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ณัฐพล มิตรอารีย, พระมหาสมบัติ ธนปญฺโญ และสิน งามประโคน. (2566). การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบอริยสัจ 4. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์. 4(1). 27.
พัชรินทร์ ปินตาวงศ์. (2556). แนวทางปรับปรุงการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอในจังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
มยุรี วรวรรณ. (2563). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วันทนา เนื้อน้อย. (2560). การดำเนินงานระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.
สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self – Assessment Report : SAR) ประจำปีงบประมาณ 2565. นครสวรรค์: สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครสวรรค์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ครุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2555). ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย.
Krejcie, R.V. & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.