แนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานครูของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ตามหลักพรหมวิหาร 4

Main Article Content

ณิชนันทน์ ไชยขันแก้ว
พระมหาอุดร อุตฺตโร
สุวัฒน์ แจ้งจิต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพแรงจูงใจในการปฏิบัติงานครูของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 และ 2) เพื่อหาแนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานครูของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ตามหลักพรหมวิหาร 4 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและข้าราชการครู จำนวน 308 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพแรงจูงใจในการปฏิบัติงานครูของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 โดยภาพรวมมีสภาพอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีสภาพอยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่ง ด้านลักษณะงาน ด้านการยอมรับนับถือ และด้านความรับผิดชอบ ตามลำดับ และ 2) แนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานครูของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ตามหลักพรหมวิหาร 4 ประกอบด้วย (1) การผลักดันตนเอง ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้คำชี้แนะในการเตรียมความพร้อมคอยช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด (2) การเก็บข้อมูลและสรุปการทำงาน ผู้บริหารสถานศึกษาควรกำหนดข้อมูลและตัวชี้วัดของการเก็บข้อมูลการทำงานอย่างชัดเจนเพื่อสนับสนุนครูใช้เครื่องมือหลากหลายในการเก็บข้อมูลการทำงาน (3) การสร้างกำลังใจในการทำงาน ผู้บริหารสถานศึกษาควรเชื่อใจให้โอกาสให้ครูทำงานอิสระและเต็มความสามารถสร้างความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างจริงใจ (4) การปฏิบัติงานอย่างเต็มความรู้ความสามารถ ผู้บริหารสถานศึกษาควรสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและเปิดโอกาสให้ครูเพิ่มประสบการณ์และทักษะในการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม (5) การกำหนดจำนวนบุคลากรให้เหมาะสมกับปริมาณงาน ผู้บริหารสถานศึกษาควรประเมินปริมาณงานและจำนวนบุคลากรให้เหมาะสม (6) การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของครู ผู้บริหารสถานศึกษาควรสนับสนุนครูให้ใช้วิธีการสอนที่หลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างหลากหลายและมีความสุข (7) การปฏิบัติงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมและสนับสนุนครูให้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วม และเปิดโอกาสให้พูดความคิดเห็นอย่างเท่าเทียม (8) การจัดระบบการปฏิบัติงาน ผู้บริหารสถานศึกษาควรกำหนดนโยบายการดำเนินงานอย่างชัดเจนให้ครูได้ปฏิบัติงานอย่างถูกต้องและมีความสุขในการทำงาน (9) การเลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้น ผู้บริหารสถานศึกษาควรเตรียมความพร้อมและสนับสนุนครูในการเดินทางสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นและการสนับสนุนในการเข้าถึงข้อมูลเพื่อพัฒนาทักษะการทำงานของครูอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม (10) การสนับสนุนการศึกษาต่อในระดับที่สูง ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมครูให้เห็นความสำคัญของการศึกษาต่อประโยชน์และโอกาสในการเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลฉัตร กลัดแก้ว. (2564). แนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร. (2556). หลักการจัดการองค์การและการจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนาภา จันทรานุสรณ์. (2564). แนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ชุติระ ระบอบ และคณะ. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ณัฐดนัย ไทยถาวร. (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนระดับประถมศึกษา จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ธิดารัตน์ เสรีขจรจารุ. (2564). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคล ตามหลักพรหมวิหาร 4 โรงเรียนโคราชวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปฏิภาณ เหตระกูล. (2561). รูปแบบการจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยพะเยา.

ปฐมภรณ์ คำภาพล. (2564). การบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2540). พระพุทธศาสนาพัฒนาคนและสังคม. กรุงเทพมหานคร: กรมการปกครอง.

รฐา แสงรัตนชัยกุล. (2562). แนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชน อำเภอเมืองนครสวรรค์จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

รวิวรรณ กองสอน. (2565). แนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 9 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วัชระ คณะทรง. (2565). การบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

วิจิตร อาวะกุล. (2538). บุคลิกภาพ เทคนิค และหลักการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปี งบประมาณ 2565. นครสวรรค์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2.

อิสริยา รัฐกิจวิจารณ์ ณ นคร. (2557). แรงจูงใจในการทำงานของข้าราชการครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Krejcie, R.V. & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.