แนวทางการบริหารสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking) สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 ตามหลักสัปปุริสธรรม 7

Main Article Content

พิมพ์ชนก แพงไตร
สุวัฒน์ แจ้งจิต
วรกฤต เถื่อนช้าง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking) สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 และ 2) เพื่อหาแนวทางการบริหารสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking) สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครู จำนวน 291 คน และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking) สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 โดยภาพรวมมีสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีระดับสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการเปรียบเทียบทั่วไป รองลงมา คือ ด้านการเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน ด้านการเปรียบเทียบตามหน้าที่ และด้านการเปรียบเทียบภายในองค์กร ตามลำดับ และ 2) แนวทางการบริหารสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking) สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 การเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน ควรเลือกสถานศึกษาที่ดีเป็นต้นแบบ นำผลการดำเนินการมาพัฒนาสถานศึกษา วิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค เทียบกับโรงเรียนต้นแบบ เพื่อวางแผนพัฒนาการดำเนินงาน ศึกษาหลักการบริหารองค์กร และบริการวิชาการ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการในปีต่อไป ด้านที่ 2 การเปรียบเทียบภายในองค์กร ควรวิเคราะห์ปัญหาของการทำงาน เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและวางแผนการดำเนินงาน รวมถึงการประเมินการปฏิบัติงานเพื่อวางแผนการพัฒนาบุคลากรและงานฝ่ายต่างๆ ในองค์กร เพื่อบรรลุผลสำเร็จและส่งเสริมพัฒนาบุคลากรในองค์กรและส่งเสริมงานฝ่ายต่างๆ ในองค์กรด้วยการศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบและการฝึกอบรมในระยะเวลาเหมาะสม ด้านที่ 3 การเปรียบเทียบตามหน้าที่ ควรวิเคราะห์ความต้องการและพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถ ตอบสนองเหตุการณ์ปัจจุบัน วางแผนการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงการปฏิบัติตามจุดประสงค์ขององค์กร สร้างความสามัคคีและช่วยเหลือในการปฏิบัติงานด้วยความร่วมมือของบุคลากรและชุมชน และด้านที่ 4 การเปรียบเทียบทั่วไป ควรนิเทศติดตามการใช้หลักสูตรในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเข้าใจและแก้ไขปัญหา และนำมาใช้ในการวางแผนการดำเนินงานขององค์กร โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของครู ผู้เรียน และการจัดการเรียนการสอน โดยใช้หลักสูตรท้องถิ่นในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เข้าถึงชุมชนและมีส่วนร่วมของชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรศักดิ์ แซ่โค้ว. (2556). การพัฒนารูปแบบการเทียบเคียงสมรรถนะอีเลิร์นนิงสำหรับสถาบันอุดมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ถวิล อรัญเวศ.(2566). การบริหารตามหลักสัปปุริสธรรม 7. แหล่งที่มาhttp://thawin09.blogspot.com/2017/02/blog-post_12.html สืบค้นเมื่อ 30 ก.ค. 2566.

ธงชัย คำปวง. (2561). การพัฒนาครูแบบองค์รวมโดยการเทียบเคียงสมรรถนะ. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นฤมล มะยอง. (2557). แนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายบ้านวาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย โดยใช้เทคนิคการเทียบสมรรถนะ (Benchmarking). วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

ปรเมธ สมบูรณ์. (2561). การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาโดยการเทียบเคียงสมรรถนะ. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พจน์ พจนพาณิชย์กุล. (2566). การบริหารสถานศึกษาสไตล์ Benchmarking. แหล่งที่มา http://doctorpot.siam2web.com//?cid=955081 สืบค้นเมื่อ 30 ก.ค. 2566.

พชร โหจินดารัตน์. (2556). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนภูซางวิทยาคม อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยาโดยใช้เทคนิคการเทียบเคียงระดับ (Benchmarking). วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

วราภรณ์ แผ่นทอง. (2555). รูปแบบการบริหารสถาบันทางวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครโดยใช้การเทียบเคียงสมรรถนะองค์กร. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 4(2). 97-107.

วิเชียร บุญมาก. (2557). การพัฒนาวิธีปฏิบัติที่ดีเพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ด้วยกระบวนการเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking). วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา. 15(1). 77-91.

วิริยะ วรายุ. (2559). การพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนบ้านดอนมูล (สุวรรณสาราษฎร์บำรุง) โดยการเทียบเคียงสมรรถนะกับโรงเรียนลาปลายมาศพัฒนา. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. (2566). สรุปจำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษา. แหล่งที่มา https://nsw1.go.th/index.php สืบค้นเมื่อ 1 มี.ค. 2566.

สุทธินี ฤกษ์ขำ. (2557). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: หลักการและการประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาพร นามครรชิต. (2559). ภาวะผู้นําตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหาร. Journal of Roi Kaensarn Academi. 1(2). 13-22.

สุรเชษฐ์ บุญยรักษ์ และวัชราภรณ์ บุญยรักษ์. (2565). การเทียบเคียงสมรรถนะคุณภาพการศึกษาจากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 11(1). 134-145.

Krejcie, R.V. & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.

Likert, Rensis. (1970). The Method of Constructing and Attitude Scale, Reading in Attitude Theory and Measurement. Fishbeic, Matin, Ed. New York: Wiley & Son.

Savin, H.A. (2000). Designing an effective outcomes management system: A case study. From https://cdnet2.car.chula.ac.th/plweb-cgi/hwwstd.cgi?HWWEDA+451975 Retrieved February 4, 2000.