แนวทางการบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษาตามหลักอริยสัจ 4 ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

Main Article Content

สิริวัฒน์ ไตรบุตร
พระครูกิตติญาณวิสิฐ
ทองดี ศรีตระการ Thongdee Sritragarn

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษาตามหลักอริยสัจ 4 และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษาตามหลักอริยสัจ 4 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 260 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านแบบการเอาชนะ ด้านแบบการร่วมมือ ด้านแบบการประนีประนอม ด้านแบบการหลีกเลี่ยง ด้านแบบการยอมให้ ตามลำดับ 2) วิธีการบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษาตามหลักอริยสัจ 4 เป็นการนำหลักการบริหารความขัดแย้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านแบบการเอาชนะ ด้านแบบการร่วมมือ ด้านแบบการประนีประนอม ด้านแบบการหลีกเลี่ยง ด้านแบบการยอมให้ โดยบูรณาการกับหลักอริยสัจ 4 ได้แก่ ขั้นทุกข์ การกำหนดปัญหา ขั้นสมุทัย การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ขั้นนิโรธ การกำหนดเป้าหมาย ขั้นมรรค การกำหนดวิธีการแก้ปัญหา เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสถานศึกษา และ 3) แนวทางการบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษาตามหลักอริยสัจ 4 แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ดังนี้ (1) แบบการเอาชนะ ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถกำหนดสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นโดยวิเคราะห์หาสาเหตุบนพื้นฐานของความถูกและชอบธรรมภายใต้ระเบียบข้อบังคับทางราชการ (2) แบบการร่วมมือ ผู้บริหารสถานศึกษาพิจารณาก่อนว่าอะไรคือปัญหาและปรับความเข้าใจกันเองในลำดับต่อไป (3) แบบการประนีประนอม ผู้บริหารสถานศึกษากำหนดนโยบายการแก้ปัญหาพิจารณาถึงข้อมูลที่ยอมรับความคิดเห็นของทุก ๆ ฝ่าย เพื่อพบกันคนละครึ่งทาง (4) แบบการหลีกเลี่ยง ผู้บริหารสถานศึกษาประวิงเวลาจนปัญหาคลี่คลายปัญหา และ (5) ด้านแบบการยอมให้ผู้บริหารสถานศึกษาพยายามถนอมน้ำใจคณะครูผู้มีส่วนร่วมในการขัดแย้งเพื่อรักษาสัมพันธภาพอันดีในการทำงานร่วมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชลธิชา หอมฟุ้ง. (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่เพื่อส่งเสริม ความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฐณบดินทร์ รัตนวิชัย, อินถา ศิริวรรณ และพระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน (2566). สภาพการบริหารความขัดแย้งด้านการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 10(1). 433.

นริศร กรุงกาญจนา. (2559). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการทา งานเป็น ทีมของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐมเขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประกาทิพย์ ผาสุก. (2561). การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปรารถนา หลีกภัย. (2564). การบริหารความขัดแย้งการบริหารความขัดแย้งจากการทำงานของข้าราชการครูในจังหวัดตรัง. วารสารสถาบันพระปกเกล้า. 19(1). 93-113.

พระมหาศิวะเสน ญาณเมธี. ผ2561). รูปแบบการบริหารจัดการความขัดแย้งในพระพุทธศาสนา : วิเคราะห์จากพระไตรปิฎก. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสยาม.

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2547). รูปแบบการจัดการความขัดแย้งโดยพุทธสันติวิธี : ศึกษาวิเคราะห์กรณีลุ่มน้ำแม่ตาช้าง จ.เชียงใหม่. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พูนสุข มาศรังสรรค์. (2559). การจัดการความรุนแรงในครอบครัวเชิงพุทธบูรณาการ. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2537). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัชนีวรรณ พวงวรินทร์. (2559). การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เศรษฐินันท์ ศิริสกุลเขมทัต. (2560). ปรัชญาแนวพุทธ: การแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมศักดิ์ วิเศษ. (2564). การบริหารความเสี่ยงด้านงานบุคคลยุคดิจิทัลตามหลักอริยสัจ 4 ของกลุ่มโรงเรียนปทุมเบญจา จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุภาพ ถึกป้อง. (2561). การบริหารจัดการความขัดแย้งในองค์กรของผู้บริหารองค์การบริหารส่วน ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2564). ความขัดแย้ง: การบริหารเพื่อความสร้างสรรค์. วารสารธรรมศาสตร์. 17(1). 9.

R.V. Krejcie. & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 601 – 610.