รูปแบบการศึกษาสงเคราะห์ตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการศึกษาสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการศึกษาสงเคราะห์ตามหลักพุทธธรรม และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการศึกษาสงเคราะห์ตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการ เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระสังฆาธิการในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 2 จำนวน 297 รูป และกลุ่มเป้าหมายจำนวน 15 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์และแบบการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการความจำเป็นการศึกษาสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการ ในภาพรวม คือ 0.786 ด้านที่มีความต้องการจำเป็นอันดับที่ 1 คือ ด้านการศึกษาสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ในปัจจุบัน อันดับที่ 2 คือ ด้านการศึกษาสงเคราะห์ต่อผู้ที่ด้อยโอกาส อันดับที่ 3 คือ ด้านการศึกษาสงเคราะห์ในโรงเรียน อันดับที่ 4 คือ ด้านการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของการศึกษาลดละเลิกสิ่งเสพติดและอบายมุข 2) รูปแบบการศึกษาสงเคราะห์ตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 2 เป็นรูปแบบเชิงข้อความ ประกอบด้วยหลักการ แนวคิด วัตถุประสงค์ เนื้อหา บูรณาการหลักพรหมวิหาร 4 กระบวนการจัดการ ผลลัพธ์ที่คาดหวัง และ 3) ผลการประเมินรูปแบบการศึกษาสงเคราะห์ตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเหมาะสม ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กองพุทธศาสน์ศึกษา. (2565). ทะเบียนพระสังฆาธิการ ปี 2564. แหล่งที่มา http://deb.onab.go.th สืบค้นเมื่อ 6 ก.ค. 2565.
ธานินท์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
พระครูขันติวโรภาส (ขาว ขนฺติโก). (2559). รูปแบบการพัฒนาวัดในกรุงเทพมหานครให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูธรรมศาสน์อุโฆษ (ธงไชยวัฒน์ อิสฺสรมฺโม). (2555). บทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านการศึกษาสงเคราะห์ในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูวัฒนสุตานุกูล. (2557). กระบวนการพัฒนาวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของคณะสงฆ์ไทย. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธนดล นาคสุวณฺโณ. (2550). การบริหารกิจการคณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุวพิชชา ประสิทธิธัญกิจ. (2542). การศึกษาสงเคราะห์ Welfare Education. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมย์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. ลพบุรี: สถาบันราชภัฏเทพสตรี.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3. ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ว่องวานิช. (2542). การสังเคราะห์เทคนิคที่ใช้ในการประเมินความต้องการจำเป็นในนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รายงานการวิจัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Krejcie, R.V. & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.