รูปแบบการบริหารบุคคลยุควิถีชีวิตใหม่ตามหลักธรรมาภิบาล สำหรับผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนอำเภอบางไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารบุคคลยุควิถีชีวิตใหม่ สำหรับผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนอำเภอบางไทร 2) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารบุคคลยุควิถีชีวิตใหม่ตามหลักธรรมาภิบาล 2 และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการบริหารบุคคลยุควิถีชีวิตใหม่ตามหลักธรรมาภิบาล สำหรับผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนอำเภอบางไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามประชากรในการวิจัยที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 160 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารบุคคลยุควิถีชีวิตใหม่ สำหรับผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนอำเภอบางไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 โดยภาพรวมมีสภาพการบริหารอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีสภาพการบริหารอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ และด้านวินัยและการรักษาวินัย ตามลำดับ 2) รูปแบบการบริหารบุคคลยุควิถีชีวิตใหม่ตามหลักธรรมาภิบาล สำหรับผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนอำเภอบางไทร เป็นการนำหลักการบริหารบุคคลวิถีชีวิตใหม่บูรณาการกับหลักธรรมาภิบาล (1) ด้านวินัยและการรักษาวินัย ผู้บริหารส่งเสริมให้มีกฎระเบียบที่ต้องรักษาวินัยโดยเคร่งครัดเสมอ กำหนดโทษผิดวินัย การต้องอุทิศเวลาให้แก่สถานศึกษา ผู้บริหารปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน (2) ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ผู้บริหารกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมเรื่องความสามารถของบุคลากรสำหรับการเลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้น ส่งเสริมการพัฒนาครูให้พัฒนาทักษะและความรู้การสอน (3) ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ผู้บริหารวางแผนและบริหารเวลาเพื่อให้งานเสร็จตามเวลาที่กำหนด ชี้แจงข้อมูลการประเมินให้บุคลากรทราบอย่างเป็นทางการ ศึกษาลักษณะพิเศษของครูและนักเรียน (4) ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง ผู้บริหารกำหนดแผนงานบุคลากรไว้ในแผนยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา จัดระบบการวิเคราะห์ปริมาณงานของบุคลากรอย่างเหมาะสม สำรวจสภาพทรัพยากรบุคคล ทำการสำรวจความต้องการทรัพยากรบุคคลและการวิเคราะห์ความสามารถของบุคคลในองค์กร และ 3) รูปแบบการบริหารบุคคลยุควิถีชีวิตใหม่ตามหลักธรรมาภิบาล สำหรับผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนอำเภอบางไทร ประกอบด้วยชื่อรูปแบบ วัตถุประสงค์ หลักการตามหลักในการบริหารงานบุคคลซึ่งเป็นแนวทางที่ทำให้ผู้บริหารสามารถบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า เป็นการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยวิธีการตามการบริหารงานบุคคล 4 ด้าน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ของการนำรูปแบบไปใช้ วางแผนปฏิบัติงาน การควบคุม กำกับดูแลเกี่ยวกับฝ่ายบริหารงานบุคคลของโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กรมวิชาการ. (2555). แนวทางปฏิรูปการศึกษา พ.ศ. 2555. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาการ.(2554). พระราชบัญญัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ความจําเป็นในการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
กิติมา ปรีดีดิลก. (2558). การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: อักษรพิพัฒน์.
เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-1. คุรุสภาวิทยาจารย์. 1(2). 1-10.
ราชบัณฑิตยสภา. (2566). ราชบัณฑิตบัญญัติศัพท์คำว่า “New normal”. แหล่งที่มาhttps://royalsociety.go.th สืบค้นเมื่อ 4 มิ.ย. 2566.
วีระภัทร กรินทร์. (2564). ระบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชลบุรี. วารสารมหาสารคาม. 19(1). 16.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). แนวทางการดำเนินการของผู้บริหารในโรงเรียน ประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สุดารัตน์ ลาแสง. (2557). การบริหารงานบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุพิชฌา แย้มคล้าย. (2565). การจัดการเรียนการสอนของครูในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามหลักสติสัมปชัญญะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุภาพรรณ ยวนมาลัย. (2561). การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอ แม่สายจังหวัดเชียงรายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยพะเยา.
Best W. John. (1997). Research in Education. Boston MA: Allyn and Bacon.