แนวทางการจัดการเรียนการสอนตามหลักอริยสัจ 4 ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการจัดการเรียนการสอนของครู 2) เพื่อศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอนตามหลักอริยสัจ 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนตามหลักอริยสัจ 4 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดยการเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 217 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 8 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้านที่มีความต้องการจำเป็นอันดับที่ 1 คือ ด้านหลักสูตร รองลงมา คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านครูผู้สอน 2) วิธีการจัดการเรียนการสอนตามหลักอริยสัจ 4 เป็นการจัดการเรียนการสอนประกอบด้วยด้านครูผู้สอน ด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล บูรณาการตามหลักอริยสัจ 4 (1) ทุกข์ การกำหนดรู้ปัญหา (2) สมุทัยการกำหนดรู้สาเหตุปัญหา (3) นิโรธ การดับความทุกข์อย่างมีจุดหมาย (4) มรรค วิธีการการปฏิบัติเพื่อกำจัดปัญหา และ 3) แนวทางการจัดการเรียนการสอนตามหลักอริยสัจ 4 ประกอบด้วย (1) ด้านหลักสูตร ปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพทันสมัย เหมาะสมกับระดับความรู้ของนักเรียน สร้างหลักสูตรที่เน้นพัฒนาการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ปัญหา สอดคล้องกับสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน (2) ด้านการจัดการเรียนการสอน สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีและเปิดกว้างให้นักเรียนในการเรียนรู้ กิจกรรมที่ช่วยสนับสนุนให้นักเรียนเข้าใจสาเหตุปัญหา พิจารณาหาวิธีปรับปรุงแก้ไขปัญหาหรือเป้าหมายที่ตั้งไว้ (3) ด้านการวัดผลและประเมินผล ปรับปรุงให้เหมาะสมต่อความต้องการและระดับความรู้ของนักเรียน ใช้เครื่องมือการวัดที่มีมาตรฐาน, ถูกต้อง, และมีประสิทธิภาพ นำผลที่ได้จากการวัดผลไปปรับปรุงในการจัดการเรียนการสอน สนับสนุนนักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการประเมินและการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง (4) ด้านสื่อการเรียนการสอน การเลือกสื่อที่เหมาะสมกับระดับของนักเรียน พัฒนาสื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ให้คำแนะนำเพื่อให้นักเรียนสามารถนำสื่อไปใช้ได้ในสถานการณ์ต่างๆ (5) ด้านครูผู้สอน เข้าใจสภาพจิตของนักเรียน เพื่อปรับการสอนให้เหมาะสม ช่วยเหลือนักเรียนให้เข้าใจสาเหตุของปัญหาที่นักเรียนเผชิญ สนับสนุนนักเรียนในการกำหนดเป้าหมายและวางแผนการแก้ไขปัญหา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). นิยามคำศัพท์หลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัทบุ๊คพอยท์จำกัด.
ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: ชมรมเด็ก.
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2553). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: บริษัทแอคทีฟพริ้นจำกัด.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพ.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสมบัติ อาภากโร (ระสารักษ์). (2555). การจัดการโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2550). การจัดและการบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2555). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สมสกุล รสชาติ. (2548). รูปแบบการบริหารงานวิชาการของงานโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนครสวรรค์.
สาโรช บัวศรี. (2526). วิธีสอนตามขั้นทั้งสี่ของอริยสัจในการศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2557). Active Learning: การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. นิตยสาร สสวท. 42(188). 3-6.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.
Cronbach. Lee J. (1971). Essentials of psychological testing. 4th ed. New York: Harper & Row.
Jeff Daniel Arrington. (2014). Creating 21st Century Classrooms: What District Level Instructional Leaders Know about Leading 21st Century Learning. The Degree of Doctor of Education. Major: Educational Administration.University of Nebraska– Lincoln, United States.
Likert Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Attitude Theory and Measurement. Fishbeic. Matin, Ed, New York: Wiley & Son.
Macquarie Thesaurus. (1992). Collins co build dictionary English Language. Sydney: The Macquarie Library Pty.
Ondrashek. (2017). N. 21st century learning. Master's thesis. Northwestern College Orange City.
Rosenshine. B. & Furst N.F. (1971). Research on Teacher Performance Criteria. in Research in Teacher Education. Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice-Hall.