แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาโดยอาศัยความร่วมมือด้วยพลังบวร ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายเมืองชัยพระเจ้าตาก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันด้านความร่วมมือในการจัดการศึกษาโดยอาศัยความร่วมมือด้วยพลังบวร 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารความร่วมมือในการจัดการศึกษาโดยอาศัยความร่วมมือด้วยพลังบวร ตามหลักสังคหวัตถุ 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการบริหารความร่วมมือในการจัดการศึกษาโดยอาศัยความร่วมมือด้วยพลังบวร ตามหลักสังคหวัตถุ 4 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามประชากรทั้งหมดในการวิจัย จำนวน 76 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันด้านความร่วมมือในการจัดการศึกษาโดยอาศัยความร่วมมือด้วยพลังบวร ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และรายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ การบริหารงบประมาณ การบริหารทั่วไป การบริหารวิชาการ การบริหารบุคคล ตามลำดับ 2) วิธีการบริหารความร่วมมือในการจัดการศึกษาโดยอาศัยความร่วมมือด้วยพลังบวร ตามหลักสังคหวัตถุ 4 เป็นการนำหลักการบริหารความมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 4 ด้าน ได้แก่ การบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารบุคคล การบริหารทั่วไป บูรณาการกับหลักสังคหวัตถุ 4 ได้แก่ 1) ทาน การให้ 2) ปิยวาจา วาจาอันเป็นที่รัก 3) อัตถจริยา การประพฤติประโยชน์ 4) สมานัตตตา การวางตนสม่ำเสมอ และ 3) แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาโดยอาศัยความร่วมมือด้วยพลังบวร ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ประกอบด้วย (1) การบริหารวิชาการ ผู้บริหารควรเป็นผู้นำ เป็นผู้ประสานงาน นำพาบ้าน วัด และโรงเรียนในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เปิดโอกาสให้แต่ละภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความรู้ และในการเป็นแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชน (2) การบริหารงบประมาณ ผู้บริหารควรติดต่อประสานงานกับทุกภาคส่วนในการระดมทรัพยากร วางแผน จัดหา ดูแล บำรุง รักษา สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ในการจัดการเรียนการสอน ชื่นชม ยกย่อง ประกาศเกียรติคุณ ผู้ที่มีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากร (3) การบริหารบุคคล ผู้บริหารควรจะต้องเปิดโอกาสในการพัฒนาตนเองของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บุคลากรได้นำความรู้ความสามารถ ประสบการณ์มาใช้ในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน บุคลากรทางการศึกษา คนในชุมชน หรือใครก็ตามเมื่อได้ทำประโยชน์ให้กับโรงเรียน ควรได้รับรางวัล ความชมเชย ตามความเหมะสม (4) การบริหารทั่วไป ผู้บริหารควร ให้บ้าน วัด และโรงเรียน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆ ภายในโรงเรียน คนในชุม ผู้นำศาสนา สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน ตัดสินใจ และแสดงความคิดเห็น เพื่อให้กิจกรรมนั้นประสบความสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ ประสานงานกับภาคส่วนต่างๆ ให้ชุมชนมีมีส่วนร่วมในการดูแลอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กัญจนพร ศรีมงคล. (2565). การสร้างความสัมพันธ์ของโรงเรียนกับชุมชนที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
พระครูประทีปธรรมาภิรักษ์ (ประพันธ์ พนฺธุธมฺโม). (2559). การบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา เขตบางขุนเทียน สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูประภัศร์ธรรมาภิรักษ์ (จันเขียด). (2561). การบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ4ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต1. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูไพโรจน์กิจจาทร (สกุล สุภทฺโท). (2559). การศึกษาความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานบุคคล ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา เขตประเวศ สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระจตุพร เทวธมฺโม (ใจยิ้ม). (2559). การบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียน ประถมศึกษา เขตคลองเตย สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิมพ์พชิมญชุ์ สุภายอง. (2563). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนบ้านกลาง ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ภิญโญ สาธร. (2557). หลักบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
อัขราธร สังมณีโชติ. (2550). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่พึงประสงค์ของชุมชน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.