แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติตนตามหลักเบญจศีลของครูโรงเรียนสังกัดเทศบาล จังหวัดสมุทรปราการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติตนของครู 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาการปฏิบัติตนตามหลักเบญจศีลของครู และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติตนตามหลักเบญจศีลของครู เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 255 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการปฏิบัติตนของครูโรงเรียนสังกัดเทศบาล จังหวัดสมุทรปราการ ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านจรรยาบรรณต่อสังคม ด้านจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ด้านจรรยาบรรณต่อตนเอง ด้านจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ และด้านจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ตามลำดับ 2) วิธีการพัฒนาการปฏิบัติตนตามหลักเบญจศีลของครู เป็นการประยุกต์หลักเบญจศีลกับการปฏิบัติตนของครู ประกอบด้วย (1) จรรยาบรรณต่อตนเองด้วยหลักเบญจศีล ข้อที่ 5 เว้นจากการน้ำเมา เว้นจากสิ่งเสพติดให้โทษ (2) จรรยาบรรณต่อวิชาชีพด้วยหลักเบญจศีล ข้อที่ 3 เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เว้นจากการล่วงละเมิดสิ่งที่ผู้อื่นรักใคร่หวงแหน (3) จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการด้วยหลักเบญจศีล ข้อที่ 1 เว้นจากการฆ่า การประทุษร้ายกัน (4) จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพด้วยหลักเบญจศีล ข้อที่ 4 เว้นจากการพูดเท็จ โกหก หลอกลวง (5) จรรยาบรรณต่อสังคมด้วยหลักเบญจศีล ข้อที่ 2 คือ เว้นจากการถือเอาของที่ผู้อื่นมิได้ให้ และ 3) แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติตนตามหลักเบญจศีลของครู ประกอบด้วย(1) จรรยาบรรณต่อตนเอง ครูมีการพัฒนาวินัยในตนเองอยู่เสมอ กำหนดเป้าหมายที่เป็นไปได้และมีความท้าทายในการทำงาน รับผิดชอบต่อการดำเนินงานของตนเอง โดยไม่หลีกเลี่ยงหรือหาข้ออ้าง พัฒนานิสัยที่เป็นประจำ (2) จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ รักษาชื่อเสียงและปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์ในการทำงานและต่อเนื่อง ปฏิบัติตามกฎระเบียบและนโยบายของสถานศึกษา (3) จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์ด้วยความบริสุทธิ์ใจ สร้างสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นการเรียนรู้ มีเครื่องมือการเรียนรู้ ให้กิจกรรมหรือโครงการที่มีความท้าทายและน่าสนใจ (4) จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ สร้างความสามัคคี สร้างการเข้าใจและความรู้เกี่ยวกับนักเรียน ให้นักเรียนทำงานร่วมกันในกิจกรรม สร้างโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นให้พื้นที่ในการแสดงความคิด (5) จรรยาบรรณต่อสังคม ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการอนุรักษ์หรือพัฒนาสิ่งแวดล้อม สร้างการตระหนักและการกระทำที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม สร้างโปรแกรมการเรียนรู้ที่เน้นความยั่งยืน สร้างโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เน้นการประหยัดพลังงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
ชำเลือง วุฒิจันทร์. (2524). คุณธรรมและจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร: การศาสนา.
ณรินรัตน์ ชัยศิริ, พระมหาสมบัติ ธนปญฺโ และระวิง เรืองสังข์. (2564). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะตามหลักศีล 5 สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 8(3). 85-98.
มานิดา วงษ์สันต์. (2563). การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูในสถานศึกษาเอกชนสายสามัญควบคู่ศาสนาอิสลาม กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2565). หลักขันติธรรม. แหล่งที่มา https://sites.google.com/site/krukarn17825/kar-darng-chiwit-xyang-mi-khwam-sukh-ni-prathes-laea-sangkhm-lok/hlak-khanti-thrrm. สืบค้นเมื่อ 3 มิ.ย. 2565.
สมนึก ลิ้มอารีย์. (2552). การศึกษาสมรรถนะหลักของบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานใน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 3. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2559-2559). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์ และศศิกาญจน์ ทวิสุวรรณ. (2552). การส่งเสริมคุณธรรม ที่มีประสิทธิภาพ: กรณีศึกษากลุ่มเด็ก/เยาวชนและข้าราชการภาครัฐ. กรุงเทพมหานคร: กรมศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม.
Buteau. (1998). Discourse of Moral Issues in a Third Grade Classroom Elementary Schools. Public Education. Ethics Boston: UMI.