แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการตามหลักพละ 4 ของกลุ่มเมืองชัยพระเจ้าตาก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการ 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารงานวิชาการตามหลักพละ 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการตามหลักพละ 4 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามประชากรในการวิจัยทั้งหมด จำนวน 76 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการของกลุ่มเมืองชัยพระเจ้าตาก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน คือ ด้านวัดผลประเมินผล ด้านการเรียนการสอน ด้านกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน และมีรายด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน คือ ด้านการบริหารหลักสูตร ด้านสื่อการเรียนการสอน ตามลำดับ 2) วิธีการบริหารงานวิชาการตามหลักพละ 4 มีดังนี้ (1) หลักสูตร ผู้บริหารมีความรู้ความสามารถมีความเพียรพยายามในการปรับปรุงหลักสูตรและทำงานกับครูอย่างมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ (2) การเรียนการสอน ผู้บริหารให้ครูมีการจัดทำแผนการเรียนการสอนและครูมีความเพียรในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนล่วงหน้าทำให้กิจกรรมการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น (3) สื่อการเรียนการสอน ครูแต่ละท่านมีความรู้ความสามารถในการผลิตสื่อการสอนและมีความขยันผลิตสื่อที่มีประสิทธิ ทันสมัยและใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมทำให้สื่อเหมาะสมกับผู้เรียนและผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี (4) กิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน ผู้บริหารส่งเสริมกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นกิจกรรมแบบ Active Learning เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนได้ปฏิบัติและลงมือทำ ผู้สอนเป็นผู้คอยอำนวยความสะดวก และสังคหพละเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กับผู้เรียนคอยชี้แนะให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้มาก (5) วัดผลและประเมินผล ครูควรมีวิธีการวัดและประเมินผลที่หลากหลายและเหมาะสมกับเนื้อหาและมีเกณฑ์การวัดการประเมินอย่างชัดเจน โดยการวัดผลและประเมินผลมีการประเมินผลอย่างโปร่งใสและเป็นไปตามเกณฑ์ และ 3) แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการตามหลักพละ 4 ประกอบด้วย (1) หลักสูตร ผู้บริหารมีความรู้ความสามารถในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพต่อสถานศึกษา (2) การเรียนการสอน ครูผู้สอนมีความรู้ความสามารถและขยันหมั่นเพียรในการจัดทำแผนการสอนทำให้การเรียนการสอนการเตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลาทำให้มีกิจกรรมในห้องเรียนมีประสิทธิภาพ (3) สื่อการเรียนการสอน ครูผู้สอนผลิตสื่อการสอนที่ครอบคลุมกับรายวิชาและเป็นสื่อการเรียนการสอนที่มีความน่าใจและทันสมัยเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน (4) กิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน ครูมีการจัดการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยกิจกรรม Active Learning ครูจะคอยเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียน (5) การวัดผลและประเมินผล ครูทำเกณฑ์แบบประเมินที่หลากหลายจึงสามารถวัดผลประเมินผลได้อย่างถูกต้องและชัดเจนมีการประเมินผลที่หลากหลายและเป็นธรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). นิยามคำศัพท์หลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กาญจนา ศรีกาฬสินธุ์. (2543). การบริหารกิจการนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาการบริหาร คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (1989). ปั้นสมองของชาติ: ยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ส.เอเชียเพรส.
ชัญญา พงษ์ชัย ธนีนาฎ ณ สุนทร. (2554). ปัญหาและแนวทางแก้ไขการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
ชัญญา พงษ์ชัย ธนีนาฎ ณ สุนทร. (2554). ปัญหาและแนวทางแก้ไขการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
ติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.
ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตรการออกแบบและพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาการศึกษา.
พระพรหมคุณาภรณ์. (2546). ธรรมนูญชีวิต พุทธจริยธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม. นนทบุรี: เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.
รินาถ สุดใจนาค. (2548). คู่มือการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพตามแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้และเขียนแผนการสอนประเภทวิชาคหกรรม. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาชีวศึกษา.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2554). รูปแบบเพื่อพัฒนาการกระจายอำนาจการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนในฝันเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง. คณะศึกษาศาสตร์: .มหาวิทยาลัยทักษิณ.
วรสุดา บุญยไวโรจน์. (2566). การวัดและประเมินผล. แหล่งที่มา http://www.sut.ac.th/tedu/news/Activity.html. สืบค้นเมื่อ 12 มิ.ย. 2566.
วัฒนา ใยมาก, เกษม แสงนนท์ และบุญเชิด ชำนิศาสตร์. (2566). แนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านวิชาการยุคดิจิทัลของผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนปทุมเบญจา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 10(3). 103-113.
ศุภรัตน์ ทรายทอง. (2551). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการและความผูกพัน ต่อโรงเรียนของครูโรงเรียน ในสังกัดเทศบาลเมืองตะกั่วป่า อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สุมิตร คุณานุกร. (2553). หลักสูตรและการสอน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: โอ.เอสพริ้นติ้งเฮาส์.