ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของครูและบุคลากรทางการศึกษากลุ่มโรงเรียนสหวิทยาเขตเรือหลวงภาชีนุสรณ์ พระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของครูและบุคลากรทางการศึกษา 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของครูและบุคลากรทางการศึกษา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 175 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของครูและบุคลากรทางการศึกษา ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านคุณลักษณะทางนิสัยส่วนตัว ด้านคุณลักษณะทางสังคม ด้านคุณลักษณะทางด้านบุคลิกภาพ และด้านคุณลักษณะทางด้านร่างกาย ตามลำดับ 2) วิธีการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นการพัฒนาภาวะผู้นำ 4 ประการ ได้แก่ คุณลักษณะทางด้านร่างกาย คุณลักษณะทางด้านบุคลิกภาพ คุณลักษณะทางนิสัยส่วนตัวคุณลักษณะทางสังคม บูรณาการตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ได้แก่ (1) ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ (2) อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล (3 ) อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน (4) มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ (5) กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลา (6) ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักชุมชน (7) ปุคคลปโรปรัญญุตา ความเป็นผู้รู้บุคคล เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษากลุ่มโรงเรียนในสหวิทยาเขตเรือหลวงภาชีนุสรณ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของครูและบุคลากรทางการศึกษาก ประกอบด้วย 1) คุณลักษณะทางด้านร่างกาย ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อบำรุงร่างกาย รักษาสมดุลระหว่างการทำงานและการพักผ่อนให้เพียงพอ วางแผนเวลาให้เหมาะสมระหว่างการทำงานและการพักผ่อน 2) คุณลักษณะทางด้านบุคลิกภาพ สร้างความเข้าใจและเห็นคุณค่าในตนเอง ยอมรับความสามารถและข้อบกพร่องของตนเอง พัฒนาทักษะและความสามารถของตนอย่างต่อเนื่องเชื่อมั่นในการทำงานของตนเอง มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้และการพัฒนาพัฒนาทักษะการสื่อสาร 3) คุณลักษณะทางนิสัยส่วนตัว เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องการประหยัดมัธยัสถ์เป็นแบบอย่างในการพัฒนาตนเอง ให้กำลังใจและสนับสนุนนักเรียนให้มีความมั่นใจและยอมรับความท้าทาย 4) คุณลักษณะทางสังคม เข้าร่วมการประชุมชุมชน ช่วยเหลือในกิจกรรมสังคมที่มีประโยชน์สำหรับชุมชนสร้างความเข้าใจ เพื่อให้สามารถเป็นแบบอย่างในการแก้ไขปัญหาสนับสนุนการทำงานร่วมกับผู้ปกครอง นักเรียน และสมาชิกในชุมชนเพื่อสร้างสัมพันธภาพที่แข็งแรงและความเข้าใจ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
ทวิช เปล่งวิทยา. (2530). จิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.
ธงชัย สันติวงษ์และชัยยศ สันติวงษ์. (2522). พฤติกรรมของบุคคลในองค์กร. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
นฤมล เพ็ญสิริวรรณ. (2561). ภาวะผู้นำกับการการพัฒนาองค์กรในมีประสิทธิภาพสูงสุด. วารสารมจร. มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 6(2). 118.
พระครูโอภาสนนทกิตติ์ (ศักดา โอภาโส). (2557). การวิเคราะห์ทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักพุทธธรรมโรงเรียนวิถีพุทธ ระดับประถมศึกษา จังหวัดนนทบุรี. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2545). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมสภา.
พระธรรมปิฏก (ป. อ. ปยุตโต). (2535). ทศวรรษธรรมทัศน์พระธรรมปิฏก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมสภา.
พระบุญเรือง ตธมฺโม (สุทธิชัย). (2549). การศึกษาเชิงวิเคราะห์ผู้นำในพระพุทธศาสนา: ศึกษาเฉพาะวิธีการแก้ปัญหาของพระพุทธเจ้า. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 82. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์สวย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2553). ภาวะผู้นำ : ความสำคัญต่อการพัฒนาคน พัฒนาประเทศ. นครปฐม: จ.เจริญอินเตอร์พริ้น.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2559). ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมสภา.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์, สุภมาศ อังศุโชต และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2555). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
วงศ์พัทธ์ ธิติโชติศักดิ์. (2564). ภาวะผู้นำที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการในสถานการณ์โลกปัจจุบัน. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ. 9(36). 22-28.
สดุดี จีระออน. (2561). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษายุคประเทศไทย 4.0 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ.
สุธิกานต์ บริเอก. (2564). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
หิรัญ เจริญแล้ว, ชนมณี ศิลานุกิจ. (2566). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการมีภาวะผู้นําสําหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา. วารสารสหวิทยาการและการจัดการร่วมสมัย. 2(2). 14-32.
Krejcie, R.V. & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.
Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. in Reading in Attitude Theory and Measurement. Fishbeic, Matin, Ed, New York: Wiley & Son.