แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี

Main Article Content

อดิศักดิ์ ทิพย์สุวรรณ
บุญเชิด ชำนิศาสตร์
พระสุรชัย สุรชโย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถาน 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลตามหลักพุทธธรรม และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลตามหลักพุทธธรรม เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีด้วยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 285 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็น และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี ในภาพรวมมีค่าดัชนี PNImodified คือ 0.406 และด้านที่มีความต้องการจำเป็นอันดับที่ 1 คือ ด้านการบริหารงานโดยใช้ข้อมูลสารสนเทศ รองลงมา คือ ด้านการมีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล และอันดับสุดท้าย คือ ด้านการส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน 2) วิธีการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลตามหลักพุทธธรรม เป็นการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาประกอบด้วยด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล ด้านการบริหารงานโดยใช้ข้อมูลสารสนเทศ ด้านการส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน ด้านการมีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บูรณาการตามหลักพุทธธรรม คือ หลักทุติยปาปณิกสูตร ได้แก่ (1) จักขุมา ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล (2) วิธูโร ผู้นำที่จัดการธุระได้ดีมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (3) นิสสยสัมปันโน ผู้นำที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี และ 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลตามหลักพุทธธรรม ประกอบด้วย (1) ความเป็นผู้มีจักขุมา (วิสัยทัศน์กว้าง) ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์การบริหารงาน มีการสื่อสารและความสามารถในการเป็นผู้นำ (2) ความผู้มีวิธูโร (เชี่ยวชาญปฏิบัติ) ผู้บริหารมีความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารมีความเป็นผู้นำ แสวงหาความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ จัดการข้อมูลนักเรียนและบุคลากร นำระบบบริหารสารสนเทศ จัดระบบบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล จัดระบบตารางเรียนออนไลน์และระบบจัดการกิจกรรมโรงเรียน (3) ความเป็นผู้มีนิสสยสัมปันโน (มนุษยสัมพันธ์ดี) ผู้บริหารมีมนุษยสัมพันธ์ดีกับเพื่อนร่วมงาน เชี่ยวชาญใช้โปรแกรมหรือแพลตฟอร์มการสื่อสารออนไลน์ จัดการความปลอดภัย ใช้ระบบความปลอดภัยเพื่อปกป้องข้อมูล สร้างเครือข่ายการทำงานด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จิราภรณ์ ปกรณ์. (2565). รูปแบบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารรัชต์ภาคย์ 16(48). 397.

จีรวรรณ ผลไพร. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูกับความผูกพันต่อองค์กรของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6 ในจังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์.

ชัยยนต์ เพาพาน. (2566). ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. แหล่งที่มา https://www.conference.edu.ksu.ac.th/file//20160809_2488101126.pdf สืบค้นเมื่อ 4 เม.ย. 2566.

ธานินท์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

พรทิพย์ บริสุทธิ์. (2566). เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาโรงเรียน. แหล่งที่มา http://kruorathai.blogspot.com/ สืบค้นเมื่อ 4 พ.ค. 2566.

พระณรงค์ วุฑฺฒิเมธี (สังขวิจิตร). (2557). การบริหารจัดการตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของบริษัทเอ็นอีซี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ (ฉบับประมวลธรรม). กรุงเทพมหานคร: สหธรรมมิก.

พระอภิรัตน์ ฐิตวิริโย (ดาประโคน). (2560). ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี. (2564). คู่มือข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ปีการศึกษา 2564. ลพบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2566. แหล่งที่มา https://www.obec.go.t สืบค้นเมื่อ 4 พ.ค. 2566.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร: วี.พริ้น (1991).

สุวิมล ว่องวานิช. (2542). การสังเคราะห์เทคนิคที่ใช้ในการประเมินความต้องการจำเป็นในนิสิตคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รายงานการวิจัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัขราธร สังมณีโชติ. (2550). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่พึ่งประสงค์ของชุมชน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อิสรา วิรัชกุล. (2558). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์.

เอกรัตน์ เชื้อวังคำ. (2565). องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Krejcie, R.V. & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.