แนวทางการบริหารสถานศึกษาบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มศูนย์เจ้าพระยา จังหวัดอ่างทอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษากลุ่มศูนย์เจ้าพระยา จังหวัดอ่างทอง 2) เพื่อพัฒนาวิธีการบริหารสถานศึกษาบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธี คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษากลุ่มศูนย์เจ้าพระยา จังหวัดอ่างทอง จำนวน 164 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารสถานศึกษากลุ่มศูนย์เจ้าพระยา จังหวัดอ่างทอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงอันดับการปฏิบัติจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีผลการปฏิบัติมากที่สุดคือ ด้านบริหารทั่วไปอยู่ในระดับมาก และด้านที่ผลการปฏิบัติน้อยที่สุด คือ ด้านกิจการนักเรียนอยู่ในระดับมาก 2) วิธีการบริหารสถานศึกษาบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย (1) ด้านบริหารทั่วไป สถานศึกษาควรกำหนดนโยบายการบริหารให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในแผนปฏิบัติการประจำปี (2) ด้านวิชาการ วิเคราะห์และพัฒนาหลักสูตรโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปสอดแทรกในแผนการจัดการเรียนการสอนรายวิชา (3) ด้านกิจการนักเรียน สถานศึกษาควรจัดตั้งเครือข่ายการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงร่วมกับชุมชน (4) ด้านบุคลากร สนับสนุนให้บุคลากรเข้ารับการอบรม สัมมนา ศึกษาตามแหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและนำมาดำเนินชีวิตประจำวัน (5) ความสัมพันธ์ชุมชน ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ และ 3) แนวทางการบริหารสถานศึกษาบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย (1) ด้านบริหารทั่วไป มีการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำนโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ของสถานศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี (2) ด้านวิชาการ มีการวิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่น สอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปในรายวิชา (3) ด้านกิจการนักเรียน จัดกิจกรรมให้กับผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (4) ด้านบุคลากร สนับสนุนให้บุคลากรเข้ารับการอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตประจำวัน (5) ความสัมพันธ์ชุมชน ชุมชนมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายสถานศึกษาโดยเชิญผู้นำชุมชน หรือผู้มีทักษะด้านอาชีพเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แนวทางการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กาญจนี มุลนี. (2555). การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
กำธร ทาเวียง. (2553). การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ดาหวัน หุตางกูร. (2551). ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ธิปกรณ์ บุญทัน. (2562). การพัฒนาแนวทางการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น) สำหรับโรงเรียนสังกัดเทศบาลกลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 12. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นิคม กกขุนทด. (2553). การพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
เปรมฤทัย พงษ์พันธุ์. (2555). การบริหารสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
มงคล อินทรโชติ. (2552). การบริหารโรงเรียนโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
มานิตย์ พานแสวง. (2561). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
ราษฎร์ธานี กิมเสาร์. (2561). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ศรินยา ดวงสัน. (2547). การประเมินหน่วยการเรียนรู้บูรณาการเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวารีเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศรีชล ร้ายไพรี. (2558). ประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง.
ศรีพร แก้วโขง. (2554). การบริหารจัดการสถานศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในศูนย์เครือข่ายสถานศึกษารัตนมิตรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สนั่น สุขเหลือ. (2547). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการส่งเสริมโครงการตามแนวพระราชดำริ (เศรษฐกิจพอเพียง) จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2551). จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (2555 – 2559). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สิริชัย วิชโรท. (2525). การพัฒนาชนบทแบบบูรณาการ : ยุทธวิธีที่เป็นความหวังเพื่อการพัฒนาชนบท. วารสารพัฒนาบริหารศาสตร์. 22(1). 59-72.
สุดารัตน์ กุมขุนทด. (2559). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
อุณารัตน์ เสมามิ่ง. (2560). การบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกรณีศึกษา : โรงเรียนเซนต์ยอแซฟกาฬสินธุ์ สังกัดสำนักเงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.