แนวทางพัฒนาการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี

Main Article Content

จิรภัทร ทองศักดิ์
พระครูภัทรธรรมคุณ
บุญเชิด ชำนิศาสตร์
พระสุรชัย สุรชโย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครู 2) เพื่อศึกษาวิธีการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักสังคหวัตถุ 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักสังคหวัตถุ 4 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 377 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็น และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี ในภาพรวม คือ 0.450 ความต้องการจำเป็นรายด้าน อันดับที่ 1 คือ ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน รองลงมาคือ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการส่งต่อนักเรียน ด้านการป้องกันช่วยเหลือและแก้ไขนักเรียน และด้านการคัดกรองนักเรียน ตามลำดับ 2) วิธีการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักสังคหวัตถุ 4 เป็นการนำหลักการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ประการ ได้แก่ (1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล (2) การคัดกรองนักเรียน (3) การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน (4) การป้องกันช่วยเหลือและแก้ไขนักเรียน (5) การส่งต่อนักเรียน บูรณาการกับหลักสังคหวัตถุ 4 ประการ ได้แก่ (1) ทาน ให้ปันน้ำใจ (2) ปิยวาจา พูดจาจับใจ (3) อัตถจริยา สงเคราะห์กันไป (4) สมานัตตตา เสมอต้นเสมอปลาย และ 3) แนวทางพัฒนาการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ประกอบด้วย (1) ทาน ให้ปันน้ำใจ ให้นักเรียนแสดงออกถึงความคิด ให้คำปรึกษา ให้การสนับสนุนที่เหมาะสมต่อนักเรียน จัดหลักสูตรอบรมที่เน้นการพัฒนาทักษะให้คำแนะนำและติดตามการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง ให้การช่วยเหลือนักเรียนทันทีเมื่อเกิดปัญหา (2) ปิยวาจา พูดจาจับใจ จัดกิจกรรมสัมภาษณ์เพื่อทำความรู้จักกับนักเรียน มีพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน ทำให้นักเรียนอยากพูดปัญหาและร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหา ใช้วาจาแนะนำสั่งสอนความรู้และประสบการณ์ที่มีแก่นักเรียนเพื่อสร้างบรรยากาศเรียนรู้ที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ (3) อัตถจริยา สงเคราะห์กันไป ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพครอบครัว ขอความยินยอมจากผู้ปกครองหรือนักเรียนก่อนดำเนินการคัดกรอง ให้ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เสียสละ จัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิต ทำงานร่วมกับผู้ปกครองด้วยกำลังกาย กำลังความคิด กำลังใจ (4) สมานัตตตา เสมอต้นเสมอปลาย มีการวางแผนการบริหารเชิงระบบอย่างเป็นขั้นตอน ติดตามความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักเรียน ประเมินผลการป้องกันช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา ทบทวนและประเมินมาตรการที่ถูกใช้ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำนายปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เสียสละตนเองด้วยแรงกาย แรงใจ แรงสติปัญญา ปฏิบัติต่อนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2560). คู่มือครูที่ปรึกษาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: ยูเรนัสอิมเมจกรุ๊ป.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2544. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จักรี โพธิ์สำนัก. (2550). ปัญหาในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

พระครูประทีปธรรมาภิรักษ์ (ประพันธ์ พนฺธุธมฺโม). (2559). การบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา เขตบางขุนเทียน สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์สวย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2552). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัชราภรณ์ เดชสุภา. (2551). ปัญหาการดำเนินงานจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตอำเภอคลองหาด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

มานพ บุญสมพงษ์. (2550). ปัญหาและแนวทางแก้ไขการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี. (2564). คู่มือข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา. ลพบุรี: สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี.

สุชา จันทร์เอม. (2544). วัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร: อักษรบัณฑิต.

หลักสูตรพัฒนาครู. (2566). ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนความหมายความสำคัญและคุณค่า. แหล่งที่มา https://training.skarea2.go.th/course/chapterview/77.html. สืบค้นเมื่อ 1 พ.ค. 2566.

Krejcie, R.V. & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.