แนวทางป้องกันการกระทำความผิดของผู้ต้องขังหญิงเรือนจำจังหวัดอ่างทอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงสาเหตุการกระทำความผิดของผู้ต้องขังหญิงเรือนจำจังหวัดอ่างทอง และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการป้องกันการกระทำความผิดของผู้ต้องขังหญิงเรือนจำจังหวัดอ่างทอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ต้องขังหญิงที่ถูกคุมขังอยู่ภายในแดนหญิงเรือนจำจังหวัดอ่างทอง จำนวน 120 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สาเหตุการกระทำความผิดของผู้ต้องขังหญิงเรือนจำจังหวัดอ่างทอง ประกอบด้วย (1) สาเหตุด้านพฤติกรรมส่วนบุคคล โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านอุปนิสัยส่วนตัว เป็นคนที่ชอบดื่มสุราและใช้ยาเสพติด รองลงมา คือ ด้านความเครียดวิตกกังวล เป็นคนที่มีความเครียดอยู่เสมอ (2) สาเหตุด้านสภาพแวดล้อม โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสภาพแวดล้อมบริเวณที่พักอาศัยก่อนต้องโทษที่พักอาศัยอยู่ใกล้แหล่งมั่วสุมยาเสพติดและการพนัน รองลงมา คือ ด้านสภาพในชุมชนก่อนต้องโทษ ชุมชนที่อยู่มีการซื้อขายยาเสพติด (3) สาเหตุด้านครอบครัว โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความสัมพันธ์ภายในครอบครัว เวลามีปัญหามักจะปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากครอบครัวไม่ได้ รองลงมา คือ ด้านสถานภาพทางครอบครัว ครอบครัวแยกกันอยู่คนละทิศคนละทาง (4) สาเหตุด้านเศรษฐกิจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการว่างงาน บิดา มารดา หรือคนในครอบครัวไม่มีรายได้/ไม่มีอาชีพเป็นหลัก รองลงมา คือ ด้านความยากจน รายได้ของตนและครอบครัวไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย 2) แนวทางป้องกันการกระทำความผิดของผู้ต้องขังหญิงเรือนจำจังหวัดอ่างทอง (1) ทางเรือนจำควรให้ผู้ต้องขัง ผ่อนคลายความเครียด เช่น กีฬา นันทนาการ ดนตรีบำบัด ควรให้มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่ดี การโภชนาการที่ดีเพื่อลดความเครียดที่เกิดจากการเจ็บป่วย รวมถึงการมีนักจิตวิทยาให้คำปรึกษากับผู้ต้องขังก่อนพ้นโทษ (2) ควรให้มีการจัดตั้งศูนย์รับแจ้งเบาะแสเมื่อพบการกระทำความผิดภายในชุมชน (3) ควรให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขร่วมกันกับชุมชน ส่งเสริมป้องกันความรุนแรงในครอบครัวจัดอบรมเรียนรู้การควบคุมอารมณ์การระบายความเครียด ควรให้หน่วยงานด้านการส่งเสริมสุขภาพจิต เข้ามาดูแลปัญหาทางด้านจิตใจของผู้หญิงที่เกิดจากความรุนแรงในครอบครัว (4) เรือนจำควรประสานงานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อให้รองรับผู้ต้องขังเข้าทำงานภายหลังพ้นโทษ และทางเรือนจำควรจัดอบรมฝึกวิชาชีพให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน นำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพได้จริง และรัฐควรจัดหาแหล่งงานให้มีความมั่นคง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กรมราชทัณฑ์. (2566). รายงานสถิติผู้ต้องราชทัณฑ์ทั่วประเทศ: เรือนจำ/ทัณฑสถานอิสระ. กรุงเทพมหานคร: กรมราชทัณฑ์.
จันทิรา จินดามาตย์. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังหญิงศึกษาเฉพาะกรณีทัณฑสถานหญิงชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชวลิต กลิ่นแข, เกชา ใจดี, ณฐวรรธน์ เสมียนเพชร, สุพัตรา สมวงศ์ และทิพวรรณ์ สุวรรณโน. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำของจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วรสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. 6(3). 253-261.
โชติกา แก่นธิยา, พระเทพปริยัติเมธี และสุกัญญาณัฏฐ อบสิน. (2564). การแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังหญิง เรือนจำกลางนครสวรรค์ โดยการบูรณาการตามหลักเบญจธรรม. วารสารวิจัยวิชาการ. 4(2). 215-224.
ปิรัชญาภรณ์ บุญชู. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังเรือนจำพิเศษธนบุรี. วารสารสหวิทยาการ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 12(2). 102-127.
พงษ์กฤษณ์ มงคลสินธุ์. (2561). การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกระทำความผิดซ้ำในคดียาเสพติด. วรสารวิชาการแสงอีสาน. 15(1). 47-61.
สิริประภา แก้วศรีนวล. (2565). การพัฒนาระบบการประเมินและติดตามผู้ต้องขังที่ก่อคดีอุกฉกรรจ์ที่ฐานความผิดเกี่ยวกับ ชีวิต ร่างกาย และเพศ โดยศึกษาย้อนหลังในกลุ่มเรือนจำในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร
อภิวัฒน์ แก้วเพ็ง. (2560). สาเหตุการกระท้าผิดซ้ำของผู้ต้องขัง กรณีศึกษาเรือนจำพิเศษมีนบุรี. การศึกษาอิสระวิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อมรรัตน์ กริยาผล. (2527). ทัศนคติของบุคคลากรในกระบวนการยุติธรรมต่อการลงโทษผู้กระทำผิดโดยการชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายในคดีอาญา: ศึกษาเฉพาะในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.
อัคคกร ไชยพงษ์. (2557). อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา. สุราษฎร์ธานี: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.