การจัดการเรียนการสอนของครูในยุคเทคโนโลยีสมัยใหม่ตามหลักพุทธธรรม

Main Article Content

นฤภัค สันป่าแก้ว

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนการสอนของครูในยุคเทคโนโลยีสมัยใหม่ ตามหลักพุทธธรรม เป็นสิ่งที่ผู้สอนต้องตระหนักเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้และการดำเนินชีวิตของผู้เรียน ผู้สอนจึงต้องเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนได้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนั้น การจัดการเรียนรู้ตามหลักพุทธธรรมจึงเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน การที่ผู้สอนจะจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและเกิดสัมฤทธิ์ผลต่อผู้เรียนได้นั้น ผู้สอนจะต้องมีองค์ความรู้ทางพุทธธรรม สามารถบูรณาการหลักธรรมในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงสร้างสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ ในชั้นเรียน ให้เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อให้สามารถดำเนินการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


หลักพุทธธรรมที่นำมาบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้ คือ หลักไตรสิกขา ถือเป็นการศึกษาที่มุ่งพัฒนาแบบองค์รวมทั้งด้านร่างกาย สังคม จิตใจ และปัญญา เพื่อพัฒนาเยาวชนให้เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและคุณธรรม เป็นพลเมืองดี ครูต้องมีความรู้ พัฒนาทักษะต่างๆ ให้ทันต่อสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไปอย่างไม่หยุดยั้ง และนำหลักพุทธธรรมมาบูรณาการเข้ากับการจัดเรียนการสอนได้เป็น “ORN MODEL” กล่าวคือ O = Connection what is learned  จัดสภาพแวดล้อมให้เกื้อหนุนต่อการเรียนรู้ เชื่อมโยงความรู้เก่าและความรู้ใหม่ แล้วนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านพฤติกรรมและสังคม (ศีล) , R = Reflection  กระตุ้นให้ผู้เรียนมีสมาธิ ศึกษาเนื้อหาอย่างตั้งใจ โดยจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนคิด ค้นคว้า ซักถาม วิเคราะห์ ทำกิจกรรมร่วมกัน ฝึกปฏิบัติ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนนำเอาความรู้ใหม่นำมาใช้สร้างองค์ความรู้ ส่งเสริมการพัฒนาด้านจิตใจอารมณ์ (สมาธิ), N = Inovative spirit สรุปผลการเรียนรู้ สาระที่ได้และสิ่งที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ส่งเสริมให้มีการสร้างนวัตกรรม (ปัญญา)

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กัลยา วานิชกุญชร. (2559). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คุณากร วรวรรณธนะชัย. (2556). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2542). การศึกษาเพื่ออารยธรรมที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2543). ความคิด: แหล่งสำคัญของการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2556). ปรัชญาการศึกษาของไทย ภาคพุทธธรรม: แกนนำการศึกษา (ภาคต้นของหนังสือ ปรัชญาการศึกษาของไทย). กรุงเทพมหานคร: ผลิธัมม์.

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557). คู่มือการจัดระบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

วิชัย ประสิทธ์วุฒิเวชช์. (2542). การพัฒนาหลักสูตรสานต่อที่ท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: เลิฟแอนด์ลิพ เพรส.

ศรีมงคล เจริญรัตน์. (2547). ครูกับการจัดการเรียนการสอน. แหล่งที่มา https://www.kroobannok.com/2186/ สืบค้นเมื่อ 31 ธ.ค. 2566.

สำนักงานคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). รายงานการศึกษาไทย พ.ศ. 2562-2564 (Education in Thailand 2019-2021). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สุภัทรา วีระประเสริฐ. (2557). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Hough, J.B. & Duncan, K. (1970). Teaching description and analysis. Addison-Westlu.