การบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี แห่งที่ 7 วัดนาหนอง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี แห่งที่ 7 วัดนาหนอง 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับปฏิบัติการที่มีต่อการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี แห่งที่ 7 วัดนาหนอง โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี แห่งที่ 7 วัดนาหนอง เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 285 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี แห่งที่ 7 วัดนาหนอง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลางทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านสถานที่ ด้านการจัดการ ด้านบุคลากร ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี แห่งที่ 7 วัดนาหนอง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ วุฒิการศึกษา และรายได้ มีความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี แห่งที่ 7 วัดนาหนอง โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอาชีพ มีความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี แห่งที่ 7 วัดนาหนอง โดยภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยยสำคัญที่ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย และ 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี แห่งที่ 7 วัดนาหนอง (1) ปัญหา อุปสรรค คือ สถานที่พักของผู้ปฏิบัติธรรมมีแมลงและสัตว์ที่จะมารบกวนสมาธิ วิทยากรใช้ภาษาถ้อยคำในการบรรยายธรรมเป็นคนรุ่นใหม่ การสอนธรรมใช้ถ้อยคำเร็วไปและใช้ศัพท์สมัยใหม่ผสมไม่เหมาะสม ขาดการประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการต่างๆ ของสำนักตามสื่อต่างๆ สมาชิกใหม่ที่เข้ามาร่วมปฏิบัติธรรมไม่รับรู้ข่าวสาร (2) ข้อเสนอแนะ คือ วิทยากรสำนักปฏิบัติธรรมใช้ปรับปรุงภาษาถ้อยคำในการบรรยายธรรม เหมาะสมควรแก่ผู้รับฟัง และสำนักปฏิบัติธรรมควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการของสำนักตามสื่อต่างๆ อย่างทั่วถึง เพื่อจะได้สมาชิกใหม่เข้ามาร่วมกิจกรรมปฏิบัติธรรมเพิ่มขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กองเลขานุการวัดนาหนอง. (2566). สถิติจำนวนประชาชนที่มาเข้าร่วมปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรีแห่งที่ 7 วัดนาหนอง ประจำปี 2566. ราชบุรี: สำนักงานเจ้าคณะตำบลดอนแร่.
พระครูปลัดนิคม นาควโร. (2562). การพัฒนารูปแบบและมาตรฐานในการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูศรีรัตนธรรมนิเทศ (ปกานนท์ พิลาพันธุ์). (2556). รูปแบบการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติกัมมัฏฐานของผู้นำชาวพุทธในประเทศอังกฤษ. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสังฆรักษ์วิสิทธิ์ ธมมวโร (วัฒนคู). (2549). ความคิดเห็นของนักเรียนต่อการปฏิบัติธรรมของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนนทบุรี แห่งที่ 2. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสังฆรักษ์วีระศักดิ์ จนฺทวํโส. (2556). การบริหารงานบุคคลตามหลักอปริหานิยธรรม 7 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสันติถิรธรรม (นพดล ถิรสนฺโต). (2564). รูปแบบการบริหารจัดการวัด : กรณีศึกษาวัดกำแพงเหนือ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธณัฐพล ธมฺมสโร (ผลาเลิศ). (2563). การบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี แห่งที่ 6 วัดท่าเรือ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระภูมินทร์ จกฺกรตโน. (2560). ความพึงพอใจต่อสำนักปฏิบัติธรรมประจำกรุงเทพมหานคร แห่งที่ 37. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสยาม.
พระอธิการจิตตวี ธีรปญฺโญ. (2561). การบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี. สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วัฒนา หลวกประยูร. (2559). ประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดท่าซุง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2557). สำนักปฏิบัติธรรมดีเด่น ประจำปีพุทธศักราช. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.