การจัดการเรียนการสอนตามกรอบแนวคิด TPACK เพื่อส่งเสริมผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
TPACK เป็นแนวคิดการจัดการเรียนการสอนที่จำเป็นในศตรวรรษที่ 21 ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้าสู่ชั้นเรียน โดยครูต้องมีความรู้ตามกรอบแนวคิดที่มีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วนคือ ความรู้ด้านเนื้อหา ความรู้ด้านการสอน และความรู้ด้านเทคโนโลยี ผนวกเข้ากันเป็นองค์รวม เพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้มีความน่าสนใจ และมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีความรู้ใหม่ที่เกิดจากความสัมพันธ์กันในแต่ละคู่ ได้แก่ ความรู้ด้านเทคโนโลยีผนวกกับความรู้ด้านเนื้อหา ความรู้ด้านเทคโนโลยีผนวกกับความรู้ด้านการสอน และความรู้ด้านการสอนผนวกกับความรู้ด้านเนื้อหา เมื่อความรู้ทั้งหมดถูกนำมาผนวกกันจึงหมายถึง ความรู้ในการจัดการเรียนการสอนด้วยเนื้อหาโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งครูต้องเข้าใจความสัมพันธ์ของความรู้ในแต่ละด้าน และนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม การจัดการเรียนการสอนตามกรอบแนวคิด TPACK จึงต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ เพราะต้องใช้เทคนิคหลายประการ คือจะต้องมีความรู้ในเนื้อหาวิชาการ ความรู้ในตัวผู้เรียน กระบวนการสอน การเลือกใช้วิธีการสอนให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีและสื่ออุปกรณ์การสอน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน สอดคล้องกับแนวคิดการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง แสวงหาและสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง เน้นการทำงานเป็นทีม บูรณาการหลายๆ วิชาเข้าด้วยกัน โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก มีรูปแบบการสอนที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยวัฒน์ แก้วพันงาม. (2561). แนวทางในการผสมผสานดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อการสอนภาษา. ภาษาปริทัศน์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 18(33). 15-20.
ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2561). หลักการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
ปรัชญา เวสารัชช์. (2545). หลักกการจัดการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักปฏิรูปการศึกษา.
ปรีดา ชัยนาจิตร. (2566). รูปแบบการสอนที่จำกัดอาจขัดขวางการพัฒนาด้านการศึกษา. วิทยาจารย์. 122(1). 76-79.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง.
เมธวิน ปิติพรวิวัฒน์ และภีศเดช เพชรน้อย. (2564). ออกแบบการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อย่างไรให้เหมาะกับผู้เรียน. แหล่งที่มา https://www.tkpark.or.th/tha/articles_detail/1637488774552/ออกแบบการเรียนรู้ในศตวรรษที่-21-อย่างไรให้เหมาะกับผู้เรียน สืบค้นเมื่อ 1 ส.ค. 2567.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2546. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.
วรงค์ศรี แสงบรรจง. (2555). เครื่องมือและโมเดลการวัดทีแพค-เอสของนิสิตนักศึกษาครู: การพัฒนาและวิเคราะห์เปรียบเทียบโมเดลแข่งขัน. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2543). การพัฒนาการเรียนการสอนทางอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2543). การพัฒนาหลักสูตรแบบครบวงจร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม.
สายหยุด จำปาทอง. (2531). แนวคิดในการพัฒนางานทางวิชาการของวิทยาลัยครู. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). รายงานการศึกษาไทย พ.ศ. 2562-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุมิตร คุณานุกร. (2540). การบริหารโรงเรียนด้านวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
Archambault, L. M. & Barnett, J. H. (2010). Revisiting technological pedagogical content knowledge: Exploring the TPACK framework. Computers & Education. 55(4). 1656-1662.
Gagne, R. M., Wager, W.W., Golas, K. C. & Keller, J. M. (2005). Principles of Instructional Design. 5th edition. Wadsworth, California.
Koehler, M.J. & Mishra, P. (2008). Handbook of Technological Pedagogical Content Knowledge (TPCK) for Educators. Routledge, New York: Washington, DC.
Mishra, P. & Koehler, M. J. (2006). Technological pedagogical content knowledge: a framework for teacher knowledge. Teachers College Record. 108(6). 1017-1054.
Shulman, L.S. (1986). Those Who Understand: Knowledge Growth in Teaching. Educational Researcher. 15. 4-14.