การส่งเสริมศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ในเขตบางบอนของพระสงฆ์วัดนินสุขาราม กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการส่งเสริมศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบการส่งเสริมศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการส่งเสริมศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 164 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การส่งเสริมศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนในเขตบางบอนของพระสงฆ์ ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการส่งเสริมพัฒนาครูและบุคลากรเพื่อพัฒนาคุณภาพ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนและประสานเครือข่ายเพื่อร่วมจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ด้านการจัดและส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการจัดการพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีคุณภาพเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้คู่ความคิด ดำเนินชีวิตได้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านมุ่งเน้นการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมมาภิบาล ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการส่งเสริมศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และภูมิลำเนา พบว่าไม่แตกต่างกันทุกด้าน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ และ 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการส่งเสริมศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (1) ปัญหา อุปสรรค คือ ภาคีเครือข่ายไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาในด้านงบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์ คณะกรรมการหรือผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การจัดการเรียนการสอ ไม่สามารถพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาได้เต็มที่ การจัดหาหนังสือเรียนขาดความคุ้มค่าขาดคุณภาพไม่ทั่วถึงเพียงพอ ผู้เรียนเมื่อจบหลักสูตรขาดการนำความรู้ไปประกอบอาชีพหรือต่อยอดอาชีพเดิม (2) ข้อเสนอแนะ คือ ส่งเสริมกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเชิงรุกที่หลากหลายทันสมัยสร้างสรรค์ต่อเนือง และตอบสนองความต้องการของประชาชนและชุมชน มีการฝึกอาชีพการส่งเสริมการเรียนรู้เสริมสร้างกระบวนการประชาธิปไตย จัดให้มีระบบการประสานงานเพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งทุน ปลูกฝังให้คนในชุมชนมีการใช้จ่ายอย่างประหยัด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์.
ธิติ พึ่งเพียร. (2559). ความต้องการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของประชาชนเทศบาลตำบลโพสะ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
นรินทร์ พูลสวัสดิ์. (2557). บทบาทของพระสงฆ์ในการส่งเสริมจริยธรรมของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.
พระใบฎีกามานะ สุเมธโส (มากมูล). (2556). การบริหารจัดการด้านการศึกษาสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการจังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาพรประสงค์ พุทธจันทร์. (2556). การส่งเสริมพระสงฆ์ในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชน. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสมุห์อนุรักษ์ ธีรสกฺโก. (2556). การพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธตามแนวปรัชญาเศรษกิจพอเพียงในจังหวัดสมุทรสาคร. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ไพทูรย์ โพธิสว่าง. (2559). การทำวิจัยทางสังคมศาสตร์ : หลักการวิธีปฏิบัติ สถิติและคอมพิวเตอร์. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ภรณี กีร์ติบุตร. (2556). การพัฒนาประสิทธิผลทางการศึกษา. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
วิษณุ พลอยศรี. (2557). การบริหารจัดการชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ศึกษากรณี ศูนย์การเรียนชุมชนพลาญข่อย ตำบลโนนก่อ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตบางบอน. (2564). เอกสารประชุมประจำปี. กรุเทพมหานคร: ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตบางบอน.
สมศักดิ์ บุญปู่. (2558). พระสงฆ์กับการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เสาวนีย์ ไชยกุล. (2559). บทบาทพระสังฆาธิการที่มีต่อการพัฒนาศาสนศึกษาและการศึกษาสงเคราะห์ จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Yamane, Taro. (1973). Statistic: An Introducting Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row.