ความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะสำหรับความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 399 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีความพึงพอใจที่อยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน คือ ด้านอารมณ์ ด้านร่างกาย ด้านสังคม และรายด้านมีความพึงพอใจที่อยู่ในระดับน้อย คือ ด้านปัญญา ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ มีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ การศึกษา อาชีพและรายได้ ไม่มีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และ 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ (1) ปัญหา อุปสรรค พบว่า เด็กเยาวชนมีปัญหาด้านการทะเลาะขัดแย้ง สภาพสังคมเศรษฐกิจทำให้ประชาชนมีปัญหาด้านอารมณ์ไม่เสมอต้นเสมอปลาย, ขาดการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับประยุกต์กับหลักธรรมอันเหมาะสมพร้อมนำไปใช้ให้ก่อเกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม และปัญหาเด็กเยาวชนเป็นโรคสมาธิสั้นเพราะติดเกมส์มากเกินทำให้สติปัญญาลดน้อยลง (2) ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรมีการรณรงค์สนับสนุนให้ประชาชนน้อมนำเอาหลักโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ไปพัฒนาคุณภาพชีวิตและป้องกันยาเสพติด ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตใจของตนโดยการรักษาศีลฝึกสมาธิเพื่อทันกับสภาพเศรษฐกิจ ควรสนับสนุนการนำหลักธรรมมันเหมาะสมดีงามมาปรับใช้เศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินวิถีชีวิตสัมมาอาชีพอย่างเป็นรูปธรรม และควรสนับสนุนการเพิ่มทักษะความรู้ด้วยการเข้ารับการฝึกอบรมด้านการพัฒนาสติปัญญา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ จังหวัดราชบุรี. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดราชบุรี พ.ศ. 2566-2570. ราชบุรี: คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ จังหวัดราชบุรี.
ธนิต อยู่โพธิ์. (2546). อานิสงส์ศีล 5. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ธนู แก้วโอภาส. (2547). ศาสนาโลก. กรุงเทพมหานคร: เอมี่เทรดดิ้ง.
นาคพล เกินชัย. (2560). วิธีวิทยาการประเมินผลการดำเนินการตามโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในจังหวัดขอนแก่น. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
นายจีรชัย วงศ์ชารี. (2564). การศึกษาวิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการรักษาศีล 5 ของหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูพัฒนวิสิทธิ์ (สมชาย อญฺชลีโย). (2564). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในตำบลบ่อกระดาน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ และคณะ. (2559). หมู่บ้านรักษาศีล 5: รูปแบบและกระบวนการเสริมสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันของสังคมไทย. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหายุทธนา นรเชฏฺโฐ และจุฑารัตน์ ทองอินจันทร์. (2561). แนวคิด ตัวชี้วัด องค์ประกอบ บทเรียน และบูรณาการตามโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาอภิวัชร์ อภิวชฺชโร (โภคสวัสดิ์). (2563). คุณภาพชีวิตของประชาชนตามแนวโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของชุมชนหนองจอก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสมุห์ชัยรัตน์ สีลวฑฺฒโน (ภู่มาลี). (2565). ศึกษาพฤติกรรมการรักษาศีล 5 เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนหลวง จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอธิการกิตติ ยุตฺติธโร. (2559). การประยุกต์ศีล 5 เพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิตของชุมชนสาวะถี. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พูลศักดิ์ หอมสมบัติ. (2559). ครอบครัวรักษาศีล 5: รูปแบบและการเสริมสร้างวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตของครอบครัวในจังหวัดอุบลราชธานี. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์. (2559). กระบวนการสร้างหลักประกันชีวิตตามหลักศีล 5 ในจังหวัดลำปาง.รายงานการวิจัย.: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2547). คู่มือการดำเนินงาน โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5”. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สุภาพร วัชรคุปต์. (2558). พฤติกรรมการรักษาศีล 5 ของประชาชนในหมู่บ้านรักษาศีล 5 นำร่อง อำเภอ เมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
เสาวรีย์ ตะโพนทอง, กุลกัญญา ณ ป้อมเพ็ชร์ และมนตรี คู่ควร. (2558). พฤติกรรมการนำศีล 5 ไปใช้ในชีวิตประจำวันของนิสิตนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษารัฐบาลในกรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัย. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
อุทัย เอกสะพัง, พระครูโกศลศรัทธาธรรม และดิเรก นุ่นกลา. (2558). ศึกษาการปฏิบัติตามศีล 5 ในชีวิตประจำวันของชาวบ้านชุมชนคุ้งยาง ตาบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 2(2). 53-65.