การวิเคราะห์การได้มาซึ่งที่ดินของวัดหรือที่ธรณีสงฆ์ กรณีศึกษาทายาททวงคืนที่ดินที่เจ้ามรดกยกให้แก่วัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการได้มาซึ่งที่ดินของวัดหรือธรณีสงฆ์ของวัดตามหลักพระธรรมวินัย 2) ศึกษาการได้มาซึ่งที่ดินของวัดหรือธรณีสงฆ์ของวัดตามหลักประมวลกฎหมายที่ดินและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 3) ศึกษาวิธีการได้มาซึ่งที่ดินของวัดหรือที่ธรณีสงฆ์เปรียบเทียบกับที่สาธารณะตามประมวลกฎหมายที่ดิน กฎหมายสงฆ์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 4) เสนอแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาการได้มาซึ่งที่ดินของวัดกรณีทายาททวงคืนที่ดินที่เจ้ามรดกยกให้แก่วัด งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร เก็บรวบรวมข้อมูลและทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสังเคราะห์ และเปรียบเทียบข้อมูลในเชิงพรรณนา เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสรุปและข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยพบว่า 1) ในสมัยพุทธกาลการถวายที่ดินเพื่อสร้างวัดกระทำเพียงวาจาก็ถือว่า การยกที่ดินการสร้างวัดถวายได้สำเร็จลุล่วงแล้ว 2) การได้มาซึ่งที่ดินของวัดตามกฎหมาย ได้แก่ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ก่อนใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน การได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน และการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 3) ที่ดินที่เจ้าของอุทิศให้วัดหรือธรณีสงฆ์ ถ้าไม่ได้มีการจดทะเบียนเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่วัดจะต้องเข้าไปทำประโยชน์โดยการถือครองปรปักษ์ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ที่ดินถึงจะตกเป็นของวัดหรือธรณีสงฆ์ได้ ส่วนที่ดินที่เจ้าของอุทิศให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ประเภทอุทิศโดยปริยายจะตกเป็นเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยทันที โดยมิต้องทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ 4) เสนอให้มีการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติ ข้อ 4 คือ ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์ที่ประชาชนอุทิศให้แก่วัดในพระพุทธศาสนา เพื่อป้องกัน แก้ไขปัญหาการได้มาซึ่งที่ดินของวัด มิให้มีปัญหาการตีความอีกต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
ชัชวาลย์ ชานุวัฒน์. (2567). วัดกับการใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ. แหล่งที่มา https://www.onlb.go.th/about/featured-articles/5150-a5150 สืบค้นเมื่อ 1 ม.ค. 2567.
พระมหาคำพันธ์ ปภากโร และคณะ. (2561). การจัดการที่ดินของวัดในพระพุทธศาสนา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 6(2). 595-605.
วิกรณ์ รักษ์ปวงชน และภัฏฐิญา สิริบวรพิพัฒน์. (2567). ปัญหาเกี่ยวกับที่ดินของวัดตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. 7(1). 16-42.
สำนักงานงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.(2566). สรุปจำนวนวัด. แหล่งที่มา https://www.onab.go.th/th/content/category/index/id/805 สืบค้นเมื่อ 6 ม.ค. 2567.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2561). พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 (และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สำนักมาตรการออกหนังสือสำคัญกรมที่ดิน. (2566). คู่มือการพิจารณาออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินของวัด 2556. แหล่งที่มา https://anyflip.com/fgcxq/wmbe สืบค้นเมื่อ 6 ม.ค. 2567.
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 202/2490
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2507
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 3968/2541