แนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์ตามหลักสามัคคีธรรมของโรงเรียนกลุ่มบ้านชัยพัฒนา อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

สมชัย มังคละ
สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย
ยุทธวีร์ แก้วทองใหญ่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการพัฒนาภาพลักษณ์ของโรงเรียนกลุ่มบ้านชัยพัฒนา อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาภาพลักษณ์ตามหลักสามัคคีธรรมของโรงเรียนกลุ่มบ้านชัยพัฒนา อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์ตามหลักสามัคคีธรรมของโรงเรียนกลุ่มบ้านชัยพัฒนา อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามผู้บริหารและครู จำนวน 175 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาภาพลักษณ์ พบว่า สภาพปัจจุบันโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง สภาพพึงประสงค์โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นจากเรียงลำดับค่า PNImodified จากมากไปหาน้อย คือ อันดับที่ 1 ลักษณะของโรงเรียน รองลงมา ได้แก่ ค่านิยมและจรรยาบรรณของโรงเรียน ชื่อเสียงของโรงเรียน อัตลักษณ์ของโรงเรียน ตามลำดับ 2) วิธีการพัฒนาภาพลักษณ์ตามหลักสามัคคีธรรมของโรงเรียนกลุ่มบ้านชัยพัฒนา อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า ด้านลักษณะของโรงเรียน โรงเรียนมีการจัดสรรอาคารสถานที่ในการจัดการเรียนการสอนที่เพียงพอ และมีความปลอดภัย จัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น มีอาคารเอนกประสงค์ ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์และสื่อการสอนที่ทันสมัย เก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยมีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ด้านค่านิยมและจรรยาบรรณของโรงเรียน ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาวางตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน มีภาวะผู้นำ ใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้ปกครองและชุมชน ด้านชื่อเสียงของโรงเรียน นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาเป็นนักเรียนที่มีคุณภาพ ได้รับการยอมรับจากสังคม มีความกล้าแสดงออก มีความประพฤติดี ได้รับการชื่นชมจากผู้ปกครอง ด้านอัตลักษณ์ของโรงเรียน เครื่องแบบนักเรียนมีความสุภาพเรียบร้อย มีรูปแบบสวยงามสะดุดตา และ 3) แนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์ตามหลักสามัคคีธรรมของโรงเรียนกลุ่มบ้านชัยพัฒนา อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วย (1) ด้านลักษณะของโรงเรียน ใช้หลักการที่ทุกคนคิด พูด ทำ ด้วยความเมตตามุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน ผู้บริหารและครูพูดคุยและแบ่งปันความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียน สร้างพื้นที่สำหรับการเสนอแนวทางและความคิดที่สามารถนำเข้ามาในการบริหารจัดการ (2) ด้านค่านิยมและจรรยาบรรณของโรงเรียน ประสานเครือข่ายทางการศึกษาทั้งภาครัฐ เอกชน และผู้ปกครองในการการส่งเสริมทักษะทางจริยธรรมและพฤติกรรม ผู้บริหาร ครู นักเรียนประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในความสุจริต ในกฎกติกาและในระเบียบแบบแผนโดยเท่าเทียมเสมอกัน (3) ด้านชื่อเสียงของโรงเรียน ปลูกฝังให้ที่แต่ละคนต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประสานงาน ประสานประโยชน์กันให้งานที่ทำสำเร็จผล สร้างเครือข่ายเพื่อประสานงานร่วมกันในการช่วยเหลือโรงเรียน เช่น ไลน์กลุ่ม เฟสกลุ่ม เพื่อส่งเสริมกิจการของโรงเรียน (4) ด้านอัตลักษณ์ของโรงเรียน ผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองควรร่วมมือกันเพื่อสร้างความตระหนักในชุมชนเกี่ยวกับความสำคัญของมารยาทและพฤติกรรมที่เรียบร้อยแก่เด็ก ใช้สื่อออนไลน์ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็ปไซต์ของโรงเรียน เพจ facebook line สื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับการแต่งกายหรือเครื่องแบบของโรงเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษศิรินทร์ มั่งมี. (2556). การศึกษาภาพลักษณ์ของโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นวาเซดะ. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จักรกฤษ เดชพร. (2563). การรับรู้ภาพลักษณ์องค์กรด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมในมุมมองของผู้บริโภคกรณีศึกษา บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปภาวี บุญกลาง. (2560). ภาพลักษณ์องค์กรที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กรณีศึกษาสาขาในเขตอำเภอด่านขุนทดจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

พระวิรัตน์ ปภสฺสโร (ขาวสะอาด). (2561). การส่งเสริมหลักสังฆสามัคคีในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์. (2566). ภาพลักษณ์ของโรงเรียน. แหล่งที่มา http://www.moe.go.th/moe/th/cms_group/detail.php?NewsID=330&Key=aca_article. สืบค้นเมื่อ 1 มี.ค. 2566.

สิทธิชัย มเหศศิริ. (2561). ภาพลักษณ์ของโรงเรียนพลอยจาตุรจินดาตามทัศนะของผู้ปกครอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อำนาจ วัดจินดา. (2566). การสร้างภาพลักษณ์องค์กร (Organizational Image). แหล่งที่มา http://www.hrdmax.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539635746&Ntype=2 สืบค้นเมื่อ 1 มี.ค. 2566.

Gregory, James R. & Jack G. Wiechmann. (1999). Marketing Corporate Image: The Company as Your Number One Product. 2 nd ed. Lincolnwood: NTC Business Books.

Keeves, Peter J. (1988). Model and Model Building: Educational Research Methodology and Measurenment : An Intermational Handbook. Oxford: Pergamon Press.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607–610.