การสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานด้วยหลักพรหมวิหาร 4 ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของครู 2) เพื่อศึกษาวิธีการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานด้วยหลักพรหมวิหาร 4 ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 3) เพื่อเสนอแนวทางการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานด้วยหลักพรหมวิหาร 4 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเป็นครู จำนวน 302 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) วิธีสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ทั้ง 7 ด้าน คือ สภาพการทำงาน ความมั่นคงปลอดภัย ความมีสัมพันธภาพ สวัสดิการ การยอมรับนับถือความสำเร็จ ความก้าวหน้า โดยบูรณาการตามหลักพรหมวิหาร 4 และ 3) แนวทางการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานด้วยหลักพรหมวิหาร 4 ประกอบด้วย (1) สภาพการทำงาน มอบงานให้ตรงความถนัดและความสามารถให้คำปรึกษา (2) สวัสดิการ จัดสวัสดิการให้ครูมีแรงจูงใจในอาชีพมี (3) ความมั่นคงปลอดภัย ส่งเสริมให้ครูได้รับความคุ้มครองดูแล (4) ความก้าวหน้า ส่งเสริมให้ครูมีความเจริญก้าวหน้าในอาชีพ (5) การยอมรับนับถือ ส่งเสริมให้ผู้ร่วมงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ได้ความเคารพนับถือ (6) ความมีสัมพันธภาพ ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมโดยยึดหลักความถูกต้อง (7) ความสำเร็จ สนับสนุนให้ครูสำเร็จตามเป้าหมายด้วยความจริงใจ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กนกวลี สุขปลั่ง. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับขวัญกำลังใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
กนกอร ทองเรือง และสมกูล ถาวรกิจ. (2563). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม. วารสารสังคมศึกษา มมร สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (1)1. 13-21.
กลุ่มบริหารงานบุคคล. (2566). รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ประจำปีงบประมาณ 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. แหล่งที่มา http://ptt2.go.th/ main/information/about-us/ita65 สืบค้นเมื่อ 25 เม.ย. 2566.
คะเณยะ อ่อนนาง. (2566). บทบาทครูในศตวรรษที่ 21 กับการเรียนการสอนแบบ Active Learning. แหล่งที่มา http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2126 สืบค้นเมื่อ 25 เม.ย. 2566.
จารุเนตร เกื้อภักดิ์. (2559). แนวทางพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จารุวรรณ สุภาภรณ์ และเทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน: กรณีศึกษาบุคลากรโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. แหล่งที่มา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/PPPA/article/view/ สืบค้นเมื่อ 25 เม.ย. 2566.
จิรัชญา ชัยชุมกูล. (2566). ภาระงานล้น แต่เงินน้อย สรุปปัญหา #ทำไมครูไทยอยากลาออก เมื่อครูถูกผลักให้เป็นผู้เสียสละ.แหล่งที่มา https://thematter.co/social/ education/why-thai-teachers-wanna-quit สืบค้นเมื่อ 25 เม.ย. 2566.
จุไรรัตน์ สุดรุ่ง และผัสสพรรณ ถนอมพงษ์ชาติ. (2561). การพัฒนาครู:แก้ปัญหาให้ตรงจุด. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 46(2). 338.
เจ๊ะฮาลีเม๊าะ สาและ. (2560). ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานครูในโรงเรียนเทศบาล สังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ชนัญชิดา พั้วพวง. (2563). การศึกษาขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการครูในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายวังหลวงหนองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 8(1). 167-177.
นฤมล ทับปาน. (2566).‘ครูดี’ ดูที่อะไรส่องคุณสมบัติครูไทยในวังวนความรุนแรง. แหล่งที่มา https://www.bangkokbiznews.com/social/ สืบค้นเมื่อ 25 เม.ย. 2566.
นารีรัตน์ บัตรประโคน. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูกับประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
พเยาว์ หมอเล็ก. (2560). ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
พระชรอ ยากองโค. (2561). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยโซนเศรษฐกิจ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
พระมหาจักรพล สิริธโร. (2566). การศึกษาในยุค “New Normal. Journal of Modern Learning Development. แหล่งที่มา https://so06.tci-thaijo.org/ndex.php/jomld/article/ download /250086/171283/916157 สืบค้นเมื่อ 25 เม.ย. 2566.
พระมหาอัสกรณ์ แตงดี. (2565). หลักพรหมวิหาร 4 กับคุณค่าของคนในสังคมไทย. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์. 8(1). 142-151.
ภาคภูมิ เชื้อสวย. (2566). ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรีเขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. 1(5). 94.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์บัพลิเคชั่น.
ริฟอรรถ ยะโกะ. (2564). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในอำเภอจะแนะสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ศรัณยา มาทิพย์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำองผู้บริหารกับขวัญกำลังใจในการทำงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอศรีราชา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมนึก มีแก้ว. (2560). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท เลิศอาภรณ์ การทอ จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สายสุนีย์ ตรีเหลา. (2561). การสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ไอยรัตน์ คงทัพ และเสวียน เจนเขว้า. (2564). ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. วารสารรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 1(2). 49-50.
Keeves, Peter J. (1988). Model and Model Building: Educational Research Methodology and Measurenment : An Intermational Handbook. Oxford: Pergamon Press.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607–610.