บทบาทการส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ของพระครูภาวนาอินทวงศ์ (เฉลียว อินฺทวํโส)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติในบทบาทการส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ของพระครูภาวนาอินทวงศ์ (เฉลียว อินฺทวํโส) 2) เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติของประชาชนต่อบทบาทการส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ของพระครูภาวนาอินทวงศ์ (เฉลียว อินฺทวํโส) โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อบทบาทการส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ของพระครูภาวนาอินทวงศ์ (เฉลียว อินฺทวํโส) มีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากประชาชนในตำบลดอนทราย อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี จำนวน 384 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทการส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ของพระครูภาวนาอินทวงศ์ (เฉลียว อินฺทวํโส) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการสงเคราะห์ให้เด็กและประชาชนได้รับการศึกษาในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชนตามแผนการศึกษาแห่งชาติ อยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ ด้านการจัดการศึกษาเป็นโรงเรียนตามแผนการศึกษาแห่งชาติ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการสงเคราะห์เกื้อกูลแก่การศึกษา สถาบันการศึกษา หรือบุคลากรทางการศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง 2) ผลการเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติที่มีต่อบทบาทการส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ของพระครูภาวนาอินทวงศ์ (เฉลียว อินฺทวํโส) พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ วุฒิการศึกษาสามัญ อาชีพ และรายได้ มีผลให้ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทการส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ของพระครูภาวนาอินทวงศ์ (เฉลียว อินฺทวํโส) โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนด้านอายุ มีผลให้ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทการส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ของพระครูภาวนาอินทวงศ์ (เฉลียว อินฺทวํโส) โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญที่ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะสำหรับพัฒนาบทบาทการส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ของพระครูภาวนาอินทวงศ์ (เฉลียว อินฺทวํโส) พบว่า ภาครัฐและภาคคณะสงฆ์ยังขาดการสนับสนุนช่วยเหลือ และปฏิรูปการศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจไทยซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการศึกษา พระสงฆ์ยังมีน้อยและมีข้อจำกัดร่วมเป็นกรรมการบริหารสถานศึกษา เมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนของจำนวนคณะกรรมการทั้งหมดทำให้การขับเคลื่อนด้วยกลไกลทางคณะสงฆ์ไม่ได้รับการผลักดันในการศึกษาเท่าที่ควร ส่วนข้อเสนอแนะ ได้แก่ ภาครัฐและภาคคณะสงฆ์ควรให้การสนับสนุน และมีการปฏิรูประบบการศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจไทยซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทางการศึกษาทั้งของภาครัฐและของคณะสงฆ์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
พระครูธรรมธรรัตนะ รตนเทโว (หลวงเทพ). (2564). บทบาทพระสงฆ์ในการป้องกันปัญหายาเสพติดในอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูปลัดศุภชัย ขนฺติโก (บุญอิ่ม). (2561). ความพึงพอใจในการบริหารจัดการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลวัดโชติทายการามสงเคราะห์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูวิบูลสรกิจ (สุพัฒน์พงษ์ สุขวฑฺฒโน). (2560). การพัฒนาการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านการศึกษาสงเคราะห์ในเขตบางกอกใหญ่กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสังฆรักษ์ชานนท์ สิริธมฺโม (พูลสวัสดิ์). (2560). ประสิทธิผลการจัดการการศึกษาสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสุวิมลสมุทรกิจ (บุญชู ยโสธโร). (2555). บทบาทพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสารทมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหานิรุต ญาณวุฑฺโฒ (พยนต์ยิ้ม). (2563). ประสิทธิภาพการจัดการการศึกษาสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสราวุธ สราวุโธ. (2558). การพัฒนาศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระแมนรัตน์ จตฺตมโล (พิทักษ์ทรัพย์). (2563). การพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสมคิด จินฺตสโม (คล้ายเงิน). (2561). สภาพบทบาทในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายของพระสงฆ์อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสมุห์เชษฐา ปิยสาสโน. (2557). การจัดการศึกษาสงเคราะห์: กรณีศึกษา โรงเรียนหลวงพ่อเพชรวิทยา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสมุห์เชษฐา ปิยสาสโน. (2557). การจัดการศึกษาสงเคราะห์: กรณีศึกษา โรงเรียนหลวงพ่อเพชรวิทยา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสมุห์ทัตพล จนฺทวํโส (แผลงปาน). (2558). บทบาทของพระสอนศีลธรรมในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนเทพมงคลรังษี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมชาย สุรชาตรี. (2558). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. แหล่งที่มา https://www.onab.go.th/th/content/category/detail/id/57/iid/2474 สืบค้นเมื่อ 10 มี.ค. 2558.
สมพร ปากกะพอก. (2559). บทบาทของพระสังฆาธิการในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียนเขตอำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
Keeves, Peter J. (1988). Model and Model Building: Educational Research Methodology and Measurenment : An Intermational Handbook. Oxford: Pergamon Press.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607–610.