การบริหารงานสารบรรณด้วยระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” จังหวัดนครนายก

Main Article Content

พรภินันท์ สิริปรีดานนท์
พีรวัฒน์ ชัยสุข
เผด็จ จงสกุลศิริ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารงานสารบรรณด้วยระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” ตำบลบ้านนา อำเภอบบ้านนา จังหวัดนครนายก 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารงานสารบรรณด้วยระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานสารบรรณด้วยระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วย 1) การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 86 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของการบริหารงานสารบรรณด้วยระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา พบว่า ความต้องการจำเป็นจากเรียงลำดับค่า PNImodified อันดับที่ 1 คือ ความสามารถของระบบ รองลงมา คือ ประสิทธิภาพในการทำงานของระบบ และพฤติกรรมของผู้ใช้งานระบบ 2) วิธีการบริหารงานสารบรรณด้วยระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ประกอบด้วย (1) ความสามารถของระบบ มีการแนบไฟล์ในระบบเหมาะสมมีประสิทธิภาพ มีการอบรมบุคลากรในการใช้งานในระบบอย่างต่อเนื่อง (2) ประสิทธิภาพในการทำงานของระบบ มีระบบสร้างความรวดเร็วในการทำงานให้แก่บุคลากร การเข้าถึงข้อมูลทันที (3) พฤติกรรมของผู้ใช้งานระบบ มีการสร้างรายงานและสถิติของผู้ใช้งานระบบสารบรรณ ช่วยให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบ และ 3) แนวทางการบริหารงานสารบรรณด้วยระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ประกอบด้วย (1) ทาน การให้ ให้ความรู้ในการแนบไฟล์ในระบบให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ มีการอบรมบุคลากรในการใช้งานในระบบอย่างต่อเนื่อง (2) ปิยวาจา พูดจาอ่อนหวาน บุคลากรในองค์กรพูดคำสุภาพ สมานสามัคคี ส่งเสริมการใช้ระบบเพื่อสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี (3) อัตถจริยา บำเพ็ญประโยชน์ ร่วมกันใช้ระบบเพื่อสร้างความรวดเร็วในการทำงานให้แก่บุคลากร ส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลทันที (4) สมานัตตตา ทำตนเสมอต้นเสมอปลาย รายงานและสถิติของผู้ใช้งานระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา มีการวางแผนการพัฒนาระบบในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). ปั้นสมองของชาติ: ยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ซัคเซส มีเดีย.

จักรกฤษณ์ สง่ากอง. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของพนักงานเทศบาลนครรังสิต. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เจนจิรา วิศพันธ์ และกฤตภ์ แต้สิริสุข. (2561). พฤติกรรมและประสิทธิภาพการใช้ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยทักษิณ. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

พระครูประภัศร์ธรรมาภิรักษ์ (จันเขียด). (2561). การบริหารสถานศึกษาตาหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วราภรณ์ บุตรนำชัย. (2559). หลักสังคหวัตถุธรรมในปารปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร. Journal of Roi Kaensarn Academi. 1(2). 23-37.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). คู่มือการบริหารจัดการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา. แหล่งที่มา https://www.ssk4.go.th สืบค้นเมื่อ 31 ก.ค. 2566.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวานิช. (2542). การสังเคราะห์เทคนิคที่ใช้ในการประเมินความต้องการจำเป็นในนิสิตคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รายงานการวิจัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อธิวัฒน์ พันธ์รัตน์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

Keeves, Peter J. (1988). Model and Model Building: Educational Research Methodology and Measurenment: An Intermational Handbook. Oxford: Pergamon Press.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607–610.